การพัฒนาคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

Main Article Content

อนุสรา เหล็กคำ
หยกแก้ว กมลวรเดช
สุกัญญา รุจิเมธาภาส

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คือ 1) สภาพและปัญหาระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 2) เพื่อพัฒนาคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานโดยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านงานประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน จำนวน 165 คน ได้มาจากการคัดเลือกโดยวิธีเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การจัดทำข้อมูลผลงาน/ชิ้นงาน/โครงงานของนักเรียน และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การเตรียมข้อมูลสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การเตรียมข้อมูลสารสนเทศตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดทำข้อมูลผลงาน/ชิ้นงาน/โครงงานของนักเรียน 2) การพัฒนาคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน พบว่า มีองค์ประกอบ บทนำ ระบบสารสนเทศ การประกันคุณภาพการศึกษา และแนวทางการจัดเตรียมข้อมูล/ร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ และ 3) การประเมินความเหมาะสมของคู่มือระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ด้านเนื้อหาของคู่มือ และด้านการใช้ภาษา ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวี หาแก้ว. (2556). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายใน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. ปริญญาครุศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บัณฑิตพงศ์ ท้าวทุมมา และคณะ. (2560). การจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 (3), 2198-2204.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

รุจิเรข กันทะใจ. (2558). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศสำหรับการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน

บ้านกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มมร วิชาการล้านนา. 7 (1), 1-10.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาเพื่อรับการประเมินคุณภาพภายนอก. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศงานประกันคุณภาพการศึกษาตาม

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

อดิศักดิ์ แพงผม. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.