ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล : พหุกรณีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 39

Main Article Content

พัชรัตน์ วุฒิญาณ
หยกแก้ว กมลวรเดช
มานี แสงหิรัญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษา
สู่โรงเรียนมาตรฐานสากล พหุกรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ประชากรในการสัมภาษณ์เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 2 โรงเรียน 5 คน ครูที่เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 2 คน ผู้ปกครองเครือข่าย 3 คน หัวหน้าคณะกรรมการสถานศึกษา 2 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน ใช้ประชากรจริงในการสอบถามจำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา แบบสอบถามด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาเลือกทั้ง 2 โรงเรียน 5 คน ครูที่เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ 2 คน ผู้ปกครองเครือข่าย 3 คน หัวหน้าคณะกรรมการสถานศึกษา 2 คน มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ 1. ผู้บริหารสถานศึกษา 2. ผู้ปกครอง ชุมชน 3. นักเรียน 4. ครู บุคลากร และ 5. การบริหารจัดการ โดยทุกปัจจัยเป็นส่วนขับเคลื่อนนำไปสู่ความสำเร็จของโรงเรียนมาตรฐานสากล
          จากการสอบถามการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลพหุกรณีศึกษา จำนวน 165 คน พบว่ามีองค์ประกอบต่อไปนี้ องค์ประกอบที่ 1 การนำองค์กร ( )องค์ประกอบที่ 2 การวางแผนกลยุทธ์  องค์ประกอบที่ 3 การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  องค์ประกอบที่ 4 การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้  องค์ประกอบที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากร  และองค์ประกอบที่ 6 การจัดการกระบวนการ  โดยองค์ประกอบที่ 5 การมุ่งเน้นบุคลากรมีระดับค่าเฉลี่ยสูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ซินดิเคทจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

พรรณระพี คูธนวนิชพงษ์. (2559). การบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนมาตรฐานสากล: กรณีศึกษาโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ไพชยนต์ ศรีม่วง. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพของโรงเรียนทุ่งทรายวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (3), 253-265.

มนต์ชัย ปาณธูป. (2557). การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาอย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์ มาตรฐานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) ในโรงเรียนมาตรฐานสากลที่พัฒนาอย่างเข้มข้น (Intensive School). นักบริหารระดับสูง. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

มุกดา อนุกานนท์. (2555). การศึกษาพฤติกรรมตามหลักพรหมวิหารธรรม 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เมธี ทองคำ. (2558). การบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สำนักงานบริหารงานมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2563). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.obec.go.th/archives/148198

Ronel Heyns. (2015). Quality Management Systems for Education and Training Providers. Online. Retrieved July, 4 2020. from http://www.saqa.org.za/docs/pol/ 2003/qms_ prov.pdf