การบริหารภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารภาคีเครือข่ายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่านและศึกษาแนวทางการบริหารภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ จำนวน200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เป็นแบบสอบถามสภาพปัจจุบันการบริหารภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน แบบปลายเปิด โดยศึกษา 4 องค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการวางแผน (Planning) 2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินการจัดองค์การ (Organizing) 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการนำ (Leading) 4. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในการควบคุม (Controlling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพปัจจุบันการบริหารภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน ในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 และปัญหาที่พบจากการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50
2.แนวทางการบริหารภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปัว จังหวัดน่าน ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.ด้านการวางแผน ควรเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดนโยบายในการจัดการศึกษาร่วมกับผู้บริหารและครู 2.ด้านการจัดองค์การ ควรเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของครู กศน.ตำบล เพื่อให้เกิดการปรับปรุง พัฒนา ครู กศน. และส่งเสริมกิจกรรมในตำบลได้อย่างเป็นรูปธรรม 3. ด้านการนำ ควรเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ กศน.จัดขึ้น เช่น กิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต กิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัย 4.ด้านการควบคุมควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการนิเทศติดตามและประเมินผลตามแผนงานโครงการกิจกรรม และออกแบบแนวทางจัดทำเครื่องมือนิเทศในการนิเทศของ กศน.
Article Details
References
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2554). การจัดและการบริหารองค์การทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นงเยาว์ ประดา. (2548). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเต่า อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การมีส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูประบบราชการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุรางค์ ลำดวน. (2547). สภาพและปัญหาการบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การประเมินโครงการ แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.