การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสนอผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เสนอแนะแนวทางในการนำความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งไปใช้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2563 สืบค้นจากฐานขอมูล TDC (Thailis) จำนวน 70 เล่ม และผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสรุปงานวิจัย และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1) ผู้บริหารสถานศึกษาใช้วิธีการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาแบบประณีประนอมมากที่สุด (ร้อยละ 100) รองลงมา แบบหลีกเลี่ยง (ร้อยละ 85.7) แบบร่วมมือ และแบบยอมให้ (ร้อยละ 75.7) และน้อยที่สุด คือ แบบกลบเกลื่อน (ร้อยละ 10.0) และสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา มี 10 แบบ ดังนี้ 1. การบริหารความขัดแย้งแบบประนีประนอม 2. การบริหารความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง 3. การบริหารความขัดแย้งแบบร่วมมือ 4. การบริหารความขัดแย้งแบบยอมให้ 5. การบริหารความขัดแย้งแบบเอาชนะ 6. การบริหารความขัดแย้งแบบเผชิญหน้า 7. การบริหารความขัดแย้งแบบไกล่เกลี่ย 8. การบริหารความขัดแย้งแบบบังคับ 9. การบริหารความขัดแย้งแบบใช้อำนาจ และ10. การบริหารความขัดแย้งแบบกลบเกลื่อน
2) แนวทางในการนำความรู้เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งไปใช้ มีดังนี้ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี๋ยวกับธรรมชาติของความขัดแย้ง 2. เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องบริหารจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นทันที ไม่ปล่อยให้ปัญหามีความยืดเยื้อ 3. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการวิเคราะห์ หาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น ว่าจะส่งผลกระทบและมีข้อดีข้อเสียอย่างไร 4. ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีการรวบรวมข้อมูลที่มีทันสมัยและถูกต้องในการวินิจฉัยปัญหา 5. ผู้บริหารสถานศึกษาเลือกใช้วิธีการบริหารความขัดแย้งให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา 6. ผู้บริหารสถานศึกษาสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้มีความรัก ความสามัคคี มีความเข้าใจกัน
Article Details
References
ฐิติวรรณ ลีฬวนิช. (2550). การศึกษาภาะผู้นำกับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธวัชชัย ชมภูมาศ. (2559). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นันท์นภัส แช่มเงิน. (2559). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนัส หันนาคนทร์. (2542). ประสบการณ์ในการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พรานนกการพิมพ์.
พิเศษ ปิ่นเกตุ. (2559). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ด้านการบริหารงานวิชาการหลักสูตรครุศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
มิ่งขวัญ พงษ์สถิตย์. (2556). การจัดการความขัดแย้งภายในองค์กร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: https://oia.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8h/cid/139/iid/120353.
ยุทธนา พรหมณี. (2553). ทักษะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของผู้นํา:การแก้ไขความขัดแย้ง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.pncc.ac.th/pncc/wrod/re/r9.doc.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552-2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สิริวรรณ จันทร์กูล. (2554). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ทางการศึกษาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์หลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534). ความขัดแย้ง–การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ตะเกียง.
อริศรา โยศรีคุณ. (2556). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2. สารนิพนธ์ตามหลักสูตรศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
Barnard, Chester I. (1970). The Function of Executive. Cambridge, Massachusettes : Harvard University.
Carl R. Roger. (1970). A Theory of Personality with Schizophrenics and a Proposal for Its Empirical Investigation. Louisiana State University.
Frederick Taylor. (1911). Principles of scientific management. New York : Harper & Brothers.
Follet, Mary Parker. (1941). Dynamic Administration. New York : Harper and Row.
Henri Fayol. (1949). General and Industrial Management. London : Sir Issac Pitman & Sons Ltd.
Mayo, Elton. (1954). The Human Problems of an Industrial Civilization. Boston : Harvard University.