ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสภาพปัจจุบันและระดับสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยการหากลุ่มตัวอย่างจากสูตร Taro (Yamane ,1973 : 56) ได้กลุ่มตัวอย่าง 17 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา 17 คน และครูผู้สอน 284 คน โดยใช้วิธีการคำนวณสัดส่วนครูในแต่ละโรงเรียนและใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยคำถามแต่ละข้อมีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และดัชนีความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs index (PNI Modified Index)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล และการดําเนินการเทียบโอนผลการเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา และสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา
2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า โดยเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา 3) ด้านการนิเทศการศึกษา 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา 5) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา และ 6) ด้านการวัดผลประเมินผลและดําเนินการเทียบโอนผลการเรียน
3. ข้อเสนอแนะในการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรมากยิ่งขึ้น ครูควรพัฒนาตนเองให้ทันสมัยต่อยุคเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ครูควรมีงานวิจัยในชั้นเรียนและนำผลการวิจัยไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาควรจัดให้มีการนิเทศภายในอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ควรจัดการวัดผลประเมินผลในรูปแบบที่หลากหลาย และคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และจัดหาสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ทันสมัยและครบครัน
Article Details
References
คมกริช จันปาน. (2561). การบริหารงานวิชาการสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
ธนกชพร ภารการ. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ธีรเมศร์ เมธีวุฒิพิทักษ์. (2560). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปัณณธร ชัยสิทธิ์. (2555). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.
วราภรณ์ นาคอก. (2556). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
วราภรณ์ อริยธนพล. (2552). การศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางแก้ไขการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศิริพร สีเตชะ. (2562). ความต้องการจำเป็นการมีส่วนร่วมบริหารงานวิชาการของครูปฐมวัยโรงเรียนเอกชนในจังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York. Harper and Row Publication.