บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สู่ความเป็นเลิศ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี (2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 175 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชพเฟ่
ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา และด้านการบริหารจัดการ (2) การเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ต่อการส่งเสริมการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวม และรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กและผู้บริหารสถานศึกษาขนาดกลาง มีระดับการปฏิบัติมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาขนาดใหญ่ทุกด้าน
Article Details
References
กฤติกา ไหวพริบ และคณะ. (2561). การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 5 (3), 97-106.
เบญจวรรณ ศรีคำนวล และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 2535-2548.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 43 ก หน้า 2-19.
ราชัญ เสนาช่วย. (2560). ปัญหาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีประเภทช่างอุตสาหกรรมของสถาบันอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14 (65), 143-152.
ลัดดาวัลย์ หมวกพิมาย. (2557). ศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีกับการเรียนรู้ตามคุณลักษณะ
แรงงานระดับอาชีวศึกษา ของสถานบันอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัย
กาสะลองคำ. 8 (1), 67-79.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). หลักเกณฑ์การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). แนวทางปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size of research activities. Educational and Phycological Measurement. 30, 608-610.