การพัฒนาความสามารถทางด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย

Main Article Content

สุทัตพงศ์ อัปมาโน
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถทางด้านสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย ให้มีจำนวนนักเรียนร้อยละ 80 ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์ในระดับดี 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการฝึกสมรรถภาพทางกาย โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบหนึ่งกลุ่มวัดหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  มีดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นเมืองไทย จำนวน 12 แผน  12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ประกอบด้วย แบบทดสอบลุก-นั่ง 60 วินาที แบบทดสอบวิ่งเร็ว 50 เมตร และแบบทดสอบวิ่งเก็บของ 3 จุด และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการฝึกสมรรถภาพทางกาย โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย มีสมรรถภาพทางกาย พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับดี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด เมื่อพิจารณารายด้านได้ พบว่า ด้านความเร็วเพศชายมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.85 ระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดี เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.39 ระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ด้านความแข็งแรงเพศชาย มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 44.67 ระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 34.9 ระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ด้านความคล่องแคล่วว่องไวเพศชายมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.39 ระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก เพศหญิงมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.81 ระดับการประเมินเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมา
          2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อการฝึกสมรรถภาพทางกาย โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมการละเล่นพื้นเมืองไทย พบว่า มีค่าเฉลี่ย  4.59 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.11  นักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2555). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.

กิตติพงษ์ ตรุวรรณ์. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายที่จำเป็นต่อการป้องกันอุบัติเหตุจากการหกล้มของนักเรียนชั้น

ประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรมพลศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). กิจกรรมการทดสอบและสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย.

กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและนันทนาการ

เดชนริศ หาญโรจนกุล. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษา โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะของเด็กอนุบาล. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปนิษฐา เรืองปัญญาวุฒิ. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาพล ศึกษา โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านไทยที่มีต่อสุขสมรรถนะของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ละมุน ชัชวาล. (2543). ผลของการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยประกอบคำถามปลายเปิด ที่มีต่อความคิด สร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

เสริมศักดิ์ ศรีโพธิ์กลาง. (2554). การพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะการละเล่นพื้นบ้านไทย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อรุณี บุญญานุกูล. (2562). ผลการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านล้านนาในการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์.(2552) ผลของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไว แบบผสมผสานการเล่นพื้นเมืองไทย ที่มีต่อการพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอลอายุระหว่าง 10 – 12 ปี. วิทยานิพนธ์คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.