ผลของการใช้กิจกรรมนิทานคำคล้องจองประกอบการบริหารสมอง (Brain gym) ในการส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนเธียรประสิทธิ์ศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมนิทานคำคล้องจองประกอบการบริหารสมอง (Brain Gym) ในการส่งเสริมพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนเธียรประสิทธิ์ศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้การจัดกิจกรรมนิทานคำคล้องจองประกอบการบริหารสมอง (Brain Gym) ในการส่งเสริมสมาธิของเด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนเธียรประสิทธิ์ศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนเธียรประสิทธิ์ศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากมีปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมนิทานคำคล้องจองประกอบการบริหารสมอง (Brain Gym) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.99, S.D.= 0.10) และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีสมาธิของเด็กที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกรายข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สมาธิสั้น ภัยเงียบของเด็ก ไม่ร้ายแรง แต่มีโอกาสเรื้อรัง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.dmh.go.th.
ฐิติมา แก้วพวง. (2561). การพัฒนาสมาธิของนักเรียนโดยการใช้เทคนิคบริหารสมอง วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนดีมากอุปถัมภ์
ธาชินี ศิวะศิลป์ชัย. (2560). การศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการบริหารสมองเพื่อการพัฒนาความสามารถทางการอ่านของนักเรียน: พหุกรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญทิพา เตชะทรงคุณ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ที่มีต่อการพูดอย่างมีโครงสร้างของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
รอบทิศ ไวยสุศรี. (2557). การใช้เทคนิคบริหารสมอง เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศันสนีย์ สุขสมใจภักดิ์. (2560). ผลการใช้กิจกรรมการเล่านิทาน เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความมีระเบียบวินัยของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนจารุวัฒนานุกูล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.