ผลของการใช้การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณเพื่อพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 โรงเรียนพญาไท

Main Article Content

อรรถพร วัตถุสินธ์
ณัฐกา สุทธิธนกูล
ตวันฉาย ทิพย์รัตน์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยใช้การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 โรงเรียนพญาไท และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 โรงเรียนพญาไท กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/5 โรงเรียนพญาไท ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมวิทยาการคำนวณ มีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.55, S.D. = 0.09) และ  2) แบบสังเกตทักษะการคิดแก้ปัญหามีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยรายการประเมินมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางถึงดี เมื่อพิจารณาเป็นรายคนพบว่า นักเรียนคนที่ 1 มีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี นักเรียนคนที่ 2 และ 3 มีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ  2) นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังจากการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ เมื่อทำการทดสอบพบว่า นักเรียนจำนวน 3 คน ก่อนทำกิจกรรมวิทยาการคำนวณ มีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปรับปรุง และหลังจากการกิจกรรมวิทยาการคำนวณ นักเรียนจำนวน 3 คน มีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปานกลางถึงดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ พิทยะภัทร์ และ ศีริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7 (1), 275-280.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรอบรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาการคำนวณระดับอนุบาล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ธีราพร กุลนานันท์. (2561). ผลการใช้กิจกรรม Brain-DISCOPE ในการพัฒนาคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย (ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี 2560-2579). วารสารครุพิบูล. 5 (2), 144-161.

พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยในชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พันธนิตย์ คุ้มครอง. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยการใช้การจัดประสบการณ์ตามรูปแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

รุ่งทิพย์ ศรสิงห์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11 (1), 92-104.

Wohl, B. (2020). Teaching Computer Science to 5-7 year-olds: An initial study with Scratch, Cubelets and unplugged computing. The Workshop in Primary and Secondary Computing Education, Lancaster University.

Tonbuloglu, B. (2019). The Effect of Unplugged Coding Activities on Computational Thinking Skills of Middle School Students. Information Education. 18 (2), 403-426.

Bell, T. and Others. (2015).Computer science unplugged: School students doing real computing without computers. The New Zealand Journal of Applied Computing and Information Technology. 13 (1), 20-29.