แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

กฤษธเนศ จันดาอาจ
วานิช ประเสริฐพร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น  2)  เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 272 คน รวมทั้งสิ้น  317 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่  การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง Modified Priority Needs index (PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า 
          สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่นโดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา และด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารจัดการ  และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านบริหารจัดการ  ความต้องการจำเป็นของการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น พบว่า มีความต้องการจำเป็นเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการ  2) ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา  3) ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ  และ 4) ด้านการจัด การเรียนการสอน  แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น พบว่า มีแนวทางที่สำคัญประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ 6 แนวทาง ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา 5 แนวทาง ด้านการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 4 แนวทาง และด้านการจัดการเรียนการสอน 7 แนวทาง


         


Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉลอง นพคุณ. (2561). ปัญหาการบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ.

ชุติมา เมฆวัน. (2557). เหลียวหน้าแลหลัง ปฏิรูปการศึกษาไทยไปไกลหรืออยู่ที่เดิม. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 6 (2), 26-38

ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการของสถาบันการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย 4.0. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วรพิชญ์ ลิขิตายน. (2559). การบริหารจัดการสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดสระบุรี ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

สถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย.สถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สาโรจน์ ขอจ่วนเตี่ยว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประเภทช่างอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2558). รายงานการประเมินคุณภาพ ด้านการ อาชีวศึกษา. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2561). มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 228 ง ลงวันที่ 18 กันยายน 2561. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

สุวดี เสนีย์วงค์ ณ อยุธยา. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานสถานศึกษาต้นแบบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุวิมล พรหมทัศน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการหลักสูตรอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการเชียงรายที่สอดคล้องการศึกษาไทย 4.0. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

Bhavani, B. and Sheshadri, Srivid ya and Unnikrishnan, R. (2010). Vocational Education Technology: Rural India. New York, NY, USA. Association for Computing Machinery.

Tingran, Li. (2020). An Analysis of the Future Trend of China's Vocational Education Industry from the Perspective of International Comparison. New York, NY, USA. Association for Computing Machinery.

Zhang, Jianzhen and Niu, Yuyan and Long, Jiehong. (2019). Application of MOOCs in China's Vocational Education and Training: Feasibilities and Difficulties. New York, NY, USA. Association for Computing Machinery.