องค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

Main Article Content

ปิยะพันธุ์ ขันไร่
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
เชาวฤทธิ์ จั่นจีน

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาน่าน เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 450 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.916 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis: EFA)  
          ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาน่าน เขต 1 มี 4 องค์ประกอบหลัก 45 ตัวแปร ประกอบด้วย องค์ประกอบ
ที่ 1 ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ ได้ 13 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 8.654 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 19.232 องค์ประกอบที่ 2 ทักษะด้านการคิดอย่างมีเหตุผล ได้ 13 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 8.628 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 19.173 องค์ประกอบที่ 3 ทักษะด้านการคิดเชิงระบบ ได้ 10 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 7.352 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 16.337 และองค์ประกอบที่ 4 ทักษะด้านการคิดสู่ความสำเร็จ ได้ 9 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 6.471 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 14.381 ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมได้ทั้งสิ้นร้อยละ 69.123

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุพรรณี อาวรณ์ และ แก้วเวียง นำนาผล. (2557). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ โรงเรียนผาน้ำทิพย์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์. 9 (2), 71-80.

อรชร ปราจันทร์. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12 (1), 156-169.

เฉลิมพร งิ้วกลาง. (2562). แนวทางการพัฒนาครูในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับสถานศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองสารคาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (3), 53-64.

พระสมุห์นริศ นรินโท. (2562). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สราวุธ พัชรชมพู. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดเชิงระบบสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 7 (12), 117-132.

ภักดี วงษาเนาว์. (2560). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย เขต 21. ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

คมสันต์ หลาวเหล็ก และ สิทธิพล อาจอินทร์. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงอนาคตและคุณลักษณะนักคิดเชิงอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการสอนซักค้านร่วมกับเทคนิคการพยากรณ์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

(4), 18-27.

ไท พานนนท์, ฉันทนา จันทร์บรรจง และ ทักษ์ อุดมรัตน์. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการคิดเชิงกลยุทธ์ของรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18 (4), 128-141.

สุวิทย์ มูลคำและคณะ. (2554). การจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่เน้นการคิด. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ประพจน์ แย้มทิม. (2559). การพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 6.

แนวทางการพัฒนาครูสู่ความเป็นมืออาชีพ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E. and Tatham, R.L. (2006) Multivariate Data Analysis. (6th ed.). Upper Saddle River: Pearson Prentice Hall.