การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2

Main Article Content

ณัฐพัชร์ บุญเกตุ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยจำนวน 220 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเลือกเฉพาะเจาะจงเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่จำนวน 15 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติและปัญหาการปฏิบัติในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ และการสัมภาษณ์แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 
          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 ประกอบไปด้วย
6 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (  = 4.01, SD =.732)  รองลงมา ได้แก่ ด้านการประเมินผลในการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (  = 3.99, SD =.705)  ด้านการจัดการเรียนการสอน
(  = 3.87, SD =.684)  ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรใหม่ตามลำดับความสำคัญใหม่ (  = 3.75, SD =.657)  ด้านการพัฒนาครู (  = 3.59, SD =.968) และด้านการรับฟังเสียงสะท้อนจากครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (  = 3.53, SD =.924) และแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2
          สรุปได้ดังนี้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาต้องมีระบบโครงสร้างหลักสูตรโดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียนและบริบทของโรงเรียน โดยมีการนำผลที่ได้จากการประเมินไปสู่การต่อยอดความรู้ของผู้เรียน มีการจัดการเรียนการสอนผสมผสานแบบออนไลน์และออฟไลน์ มีการบริหารจัดการทรัพยากรตามลำดับสิ่งที่สำคัญมากที่สุดไปน้อยที่สุดเพื่อให้ได้เป้าหมายสูงสุด มีการพัฒนาทักษะใหม่และเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาครูอย่างยั่งยืน และเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง นักเรียน และชุมชนเสนอความคิดเห็น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์ ร.ส.พ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา: https://moe360.blog/2020/05/08/

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปการจัดการ. 4 (3), 783-795.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2563). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.