การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมสื่อประเภทละครเร่แบบมีส่วนร่วมเพื่อการรู้เท่าทันความรุนแรงในเด็กและเยาวชน จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบและประเมินนวัตกรรมสื่อละครเร่แบบมีส่วนร่วมเพื่อการรู้เท่าทันความรุนแรงในเด็กและเยาวชน จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยการสื่อสารเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายหลัก มี 2 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายหลัก CHANGE AGENT คือ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 6 คน กลุ่มเป้าหมายรองกลุ่ม ACTIVE AUDIENCE คือ นักเรียนมัธยมต้น โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 23 คน และกลุ่ม SUPPORTER คือ ฆ ระฆัง การละคร สำนักกิจกรรมกิ่งก้านใบ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 2 คน รวม 31 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เป็นอาสาสมัครที่สนใจเข้าร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดกิจกรรม แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์แบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การสร้างต้นแบบนวัตกรรมสื่อละครเร่แบบมีส่วนร่วมเพื่อการรู้เท่าทันความรุนแรงในเด็กและเยาวชน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีกระบวนการสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนการเก็บข้อมูลและเสริมความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงเพื่อหาจุด paint point ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมสื่อละคร โดยใช้กระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง 2. สรุปข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเพื่อวางโครงร่างและพัฒนาบทละคร 3. การผลิตสื่อละครเร่ ประกอบด้วย การพัฒนาโครงเรื่องและบทละคร การผลิตละคร การบันทึกคลิปวิดีโอการแสดงละคร ประเมินสื่อครั้งที่1 และนำมาปรับปรุงแก้ไข 4. การประเมินสื่อโดยผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
สำหรับผลการประเมินต้นแบบนวัตกรรมสื่อละครเร่ เรื่อง “เงาะโรงเรียน” พบว่า เป็นสื่อที่ช่วยสร้างความเข้าใจเนื้อหาความรุนแรงได้ในระดับมาก โดยองค์ประกอบในสื่อละครเร่ที่ทำให้เข้าใจเนื้อหาความรุนแรงมากที่สุดในมุมมองของนักศึกษาผู้ผลิตสื่อ มี 3 องค์ประกอบ คือ การถ่ายทอดอารมณ์ของผู้แสดงในละคร ข้อความเปิดเรื่อง และข้อความปิดเรื่อง ส่วนนักเรียนผู้ให้ข้อมูลและมีส่วนร่วมในการผลิตละครเร่ มองว่า 6 องค์ประกอบในสื่อละครเร่ที่ทำให้เข้าใจเนื้อหาความรุนแรงได้มาก คือ คือ การถ่ายทอดอารมณ์ของผู้แสดง ข้อความปิดเรื่อง การตัดต่อภาพ ข้อความเปิดเรื่อง ดนตรีประกอบ และบทสนทนา
Article Details
References
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563). 20 ก.ย. วันเยาวชนแห่งชาติ สรุปสถานการณ์ ‘เด็กและเยาวชน’ ไทยกำลังเจอกับอะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www. bangkokbiznews.com/news/detail/898515
พรรัตน์ ดำรุง. สื่อการสอนประกอบวิชา การศึกษาเฉพาะบุคคลทางการละคร : Individual study in drama and theatre ในหัวข้อเรื่อง “ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง” (Theatre for Transformation). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://fineart.msu. ac.th/e-documents/myfile/ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง.pdf
มูลนิธิเด็ก. (2560). เหยื่อของความรุนแรง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.voathai .com/a/childhood-violence/4047223.html
อาภาวรรณ โสภณธรรมรักษ์. 2558. ละคร' สร้างการเรียนรู้ให้เยาวชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Content/27308- 'ละคร' สร้างการเรียนรู้ให้
เยาวชน.html
Bassant & Tidd. (2011). Innovation and Entrepreneurship. (Edition: third). New York: wiley.
Jenkins, Henry. (2009). The Revenge of the Origami Unicorn: Seven Principles of Transmedia Storytelling. Retrieved November 24, 2020, from http://henryjenkins.org/2009/12/ the_revenge_of_the_origami_uni.html
Unicef Thailand. (2561). ผลการสำรวจความต้องการของเยาวชนไทย ปี2561. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2562. แหล่งที่มา: https://thailand.ureport.in/story/182/