คุณภาพนักเรียนกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา

Main Article Content

สกุลรัตน์ โกพัฒน์ตา
วิภาภรณ์ ภู่วัฒนกุล
อัจฉรา วัฒนาณรงค์
โกศล มีคุณ

บทคัดย่อ

          จากการศึกษาค้นคว้า ในเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่คุณภาพผู้เรียนนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงเป้าหมายในพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้นตามมาตรฐานการศึกษา 2) ศึกษาบทบาทของสถานศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3)ศึกษาการดำเนินงานตามขั้นตอนของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เนื่องจาก ปัจจุบันเทคโนโลยี สารสนเทศ ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ แม้แต่ตัวนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา ก็ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งในด้านการเรียน ด้านครอบครัว ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสถานศึกษาเป็นสถานที่ที่มีภารกิจ ในการพัฒนานักเรียนให้มีความสมบูรณ์ มีความรู้ ทักษะ มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี  ต่อการดำเนินชีวิต ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นสถานศึกษา จึงได้มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อช่วยป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะส่งผลให้นักเรียนสามารถเรียนจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมนักเรียน  4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) การส่งต่อนักเรียน ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือ    ในการแก้ปัญหา และมุ่งพัฒนานักเรียน  ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และความคาดหวังของสังคมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 1 – ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพมหานคร: กรมสุขภาพจิต.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป.

จุติกรณ์ นิสสัย. (2558). การศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านหนองปรือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2564). แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบ ประมาณพ.ศ.2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: https://drive.google. com/file/d/1vGdVSAfVW491q08-vfV3j6eaiRbeBRZQ/view.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). สภาพความสำเร็จและแนวทางการสร้างความเข็มแข็ง ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการสรรหาและคัดเลือกสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2558. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนประจำปีการศึกษา2563. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

หน่วยศึกษานิเทศก์. (2550). การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์.

Deming, Edward W.(1995).Out of The Crisis. USA: The Massachusetts Institute of Technology Center for Advanced Engineering Study.

Goodman, and et al. (2003).“Using the Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ) to Screen for Child Psychiatric Discipline in a Community Samples,” Dissertation Abstracts International.

Hoy, W. K. & Miskel, C.G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice. (6thed). Boston: McGraw - Hall.

William A. Standler, (1995). Social Foundation of Education. New York : Dryden Press.

William C. Click. (1991). The Elementary School Couseling,s Role and Principles.Ed.D. Dissertation.State University of New York at Buffalo.