การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

นิลบล กิตติพะวงษ์
ชาญยุทธ หาญชนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 6 ตำบล โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane, 1973 : 125) จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในเขตอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
          ผลการวิจัยพบว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.85, S.D.= 0.38) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ( = 4.19, S.D.= 0.36) รองลงมาคือด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ( = 4.09, S.D.= 0.43) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( = 3.47, S.D.= 0.80) การเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ  ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้การสนับสนุนในเรื่องของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับชุมชนเจ้าหน้าที่ภาครัฐควรปฏิบัติงานเชิงรุก ขยายรูปแบบวิธีการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้คณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้หลากหลายมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

รัฐติพร ศิริศรี และ สัญญา เคณาภูมิ. (2560). การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร . 5 (ฉบับพิเศษ) 42-50.

วนิดา ลิ้มจิตสมบูรณ์. (2536). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการหมู่บ้าน : กรณีศึกษา หมู่บ้านสามทองและหมู่บ้านตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมศักดิ์ พละกาบ. (2560). บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในการแก้ไขปัญหายาเสพติด : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลไผ่ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: http://ojs.mbu.ac.th/index.php/jmyir/article/view/842/642.

Department of Provincial Administration. (2015). Statistical Yearbook Thaioland 2015. Online. Retrieved April 28,2021. from: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs /e-book/esyb58/files/assets/basic-html/page69.html

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and RowPublications.