ความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนเพิ่มด้านการรับประกันของแพลตฟอร์ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ยูทูปเบอร์ เมื่อเห็นกลยุทธ์การโฆษณาผ่านแพลตฟอร์ม

Main Article Content

ทรงยศ ใจวงษ์
ธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเต็มใจที่จะจ่ายส่วนเพิ่มด้านการรับประกันของแพลตฟอร์มเพื่อซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์ยูทูปเบอร์ ของผู้บริโภคในแต่ละ Generation เมื่อเห็นกลยุทธ์การโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อยอดขายผ่านแพลตฟอร์มรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากแนวคิดความเต็มใจจ่าย  วิธีการสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 413 คน จากผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการประเมินความเต็มใจจ่ายทางอ้อม ด้วยวิธีคำถามปลายปิดผลการวิจัย พบว่า (ก) มีความเต็มใจจ่ายสำหรับกล้องเวปแคมยี่ห้อที่ไม่เป็นที่รู้จัก จากเฟสบุ๊คร้านในราคา 1,021.15 บาท สำหรับลาซาด้าที่ไม่มีการรับประกันคืนเงินในราคา 1,135.46 บาท และมีการรับประกันคืนเงินในราคา 1,109.22 บาท และมีความเต็มใจจ่ายสำหรับไมโครโฟนยี่ห้อที่ไม่เป็นที่รู้จัก จากเฟสบุ๊คร้านในราคา 931.88 บาท สำหรับลาซาด้าที่ไม่มีการรับประกันคืนเงินในราคา 1,046.81 บาท และมีการรับประกันคืนเงินในราคา 1,028.67 บาท และ (ข) มีความเต็มใจจ่ายสำหรับกล้องเวปแคมยี่ห้อที่มีชื่อเสียง จากเฟสบุ๊คร้านในราคา 7,153.02 บาท สำหรับลาซาด้าที่ไม่มีการรับประกันคืนเงินในราคา 7,465.65 บาท และมีการรับประกันคืนเงินในราคา 7,550.82 บาท และมีความเต็มใจจ่ายสำหรับไมโครโฟนยี่ห้อที่มีชื่อเสียง จากเฟสบุ๊คร้านในราคา 7,020.67 บาท สำหรับลาซาด้าที่ไม่มีการรับประกันคืนเงินในราคา 7,193.25 บาท และมีการรับประกันคืนเงินในราคา 7,268.48 บาท
          ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ พบว่า การนำกลยุทธด้านสื่อโฆษณาที่มีการรับประกันคืนเงินมาใช้กำหนดราคาสินค้า ระหว่างสินค้ายี่ห้อที่ไม่เป็นที่รู้จักกับยี่ห้อที่มีชื่อเสียงสำหรับยี่ห้อที่มีชื่อเสียงจะสามารถกำหนดราคาสินค้าเพิ่มได้ ในขณะที่สินค้ายี่ห้อที่ไม่เป็นที่รู้จักไม่สามารถกำหนดราคาเพิ่มได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัณญภัทร จันทร์แจ้ง. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตภาคกลางตอนล่าง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ชมัยพร เชื้อชาย. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้อสับปะรดออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตภาคกลางตอนล่าง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วรรณา อมรลักษณ์ปรีชา. (2562). การตัดสินใจซื้อมะพร้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตภาคกลางตอนล่าง. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Gil, J.M., Gracia, A., & Sanchez, M., (2000). Market Segmentation and Willingness to Pay for Organic Products in Spain. International Food and Agribusiness Management Review.