แนวทางการบริหารจัดการศึกษาเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3

Main Article Content

ขนิษฐา ทาแฝง
วจี ปัญญาใส
สุมิตรา โรจนนิติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการศึกษาเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 โดยมีองค์ประกอบแนวทาง 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ   ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงานงบประมาณ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูฝ่ายวิชาการ ครูแนะแนว ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา จำนวน 100 คนในโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 25 โรงเรียน กลุ่มที่ 2 คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูฝ่ายวิชาการ ครูแนะแนว ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา และกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (  ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
          ผลการวิจัยพบว่า  สภาพการบริหารจัดการศึกษาเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ส่วนแนวทางการบริหารจัดการศึกษาเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 ด้านการบริหารงานวิชาการ  สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ในการเข้ารับการอบรม การใช้สื่อ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านการบริหารงานงบประมาณ  สถานศึกษามีการวางแผนงาน จัดทำโครงการ/กิจกรรม ด้านการบริหารงานบุคคล สถานศึกษาสร้างเครือข่ายของกลุ่มโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ ด้านการบริหารงานทั่วไป สถานศึกษาเปิดโอกาสให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามาแสดงความคิดเห็นในหลายช่องทาง เช่น ทาง Facebook  Line ของโรงเรียน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการบริหารจัดการศึกษาเพศวิถีศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด.

ณัฐพงศ์ รัตนรังษี. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนวัดศรีเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล, ชัยยุทธ์ ศิริสุทธิ์ และโกวัฒน์ เทศบุตร. (2548). การระดมทุนเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปริศนา สีเงิน. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพ็ชชรี อ้นทองทิม. (2561). รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้เพศวิถีศึกษาบูรณาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วจี ปัญญาใส. (2559). 2559 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาบูรณาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

วีรภัทร ภัทรกุล และประวิทย์ ประมาณ. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ เพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ ส่งเสริมวิชาการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3. (2563). ข้อมูลบุคลากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://www.phitsanulok3.go.th

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

อัจฉรา สังข์สุวรรณ. (2554). การบริหารงานบุคคล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.krucenter.net/UserFiles/File/new/n386pdf.

อุทัย ไทยกรรณ์ และคณะ. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 13 (1), 88-104.

UNESCO. (2014). Comprehensive sexuality education: The challenges and opportunities of scaling-up. Retrieved May 3, 2020. from: http://unesdoc.unesco.org/images/0022/ 002277/227781E.pdf