ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

พัชราพร พนมเขต
วจี ปัญญาใส
พิมผกา ธรรมสิทธิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
          1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ปัจจัยการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัยมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านนโยบายจุดเน้นการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 รองลงมาคือ ปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 และ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23
          2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้ง 6 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านนโยบายจุดเน้นการดำเนินงาน และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือปัจจัยด้านนโยบายจุดเน้นการดำเนินงาน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ส่วนตัวแปรต้นกับตัวแปรตามพบว่า มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงเพ็ญ ทุคหิต. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Development). คณะวิทยาการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, 2551.

นิตยา แสนสุข. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นีรนุช หนุนภักดี. (2551). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานเทศบาลตำบลสามโก้ อำเภอสามโก้จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

มยุรี อนุมานราชธน. (2552). นโยบายสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

รัตนา ดวงแก้ว. (2557). หน่วยที่ 11 การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในประมวลสาระการสอนชุดวิชานโยบายการวางแผนและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา หน่วยที่ 11-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา ธิราช

วิจิตราภรณ์ โตแก้ว. (2558). การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี