การถอดบทเรียน การถอดบทเรียนความสำเร็จของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนต้นแบบ อาหารกลางวันดีเด่นระดับประเทศในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

ปรางทิพย์ เจี้ยมกลิ่น
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จรูปแบบการบริหารจัดการของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนต้นแบบอาหารกลางวันดีเด่นระดับประเทศในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนมะต้องประชาสรรค์ โรงเรียนศึกษากุลบุตร และโรงเรียนบ้านห้วยตม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  หรือรองผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ครูที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนละ 2 คน และผู้แทนในคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนละ 3 คน กลุ่มเป้าหมายรวม 18 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูล  ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนต้นแบบอาหารกลางวันดีเด่นระดับประเทศ     ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ได้แก่ 1. ด้านการบริหารจัดการ มีการวางแผนจัดอาหารกลางวันในโรงเรียนให้เหมาะสมกับงบประมาณและบริบทของโรงเรียน พัฒนาครูให้มีความรู้ในการบริหารโครงการอาหารกลางวัน และตรวจสอบประสิทธิภาพการบริหารโครงการอาหารกลางวัน  2. ด้านการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำแหล่งเรียนรู้มาใช้ให้สอดคล้องกับการจัดโครงการอาหารกลางวัน 3. ด้านการดำเนินงาน มีข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนครบถ้วน มีสถานที่ที่ประกอบอาหารและรับประทานอาหารเหมาะสม มีวัสดุ อุปกรณ์และน้ำดื่มที่สะอาดตามหลักสุขาภิบาล 4. ด้านการมีส่วนร่วมเครือข่าย มีการบริหารโครงการอาหารกลางวันโดยคณะกรรมการซึ่งมีตัวแทนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาวางแผนพร้อมนิเทศ ติดตามและประเมินผล และ 5. ด้านผลผลิตผลลัพธ์ มีข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนครบถ้วน พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ มีสถานที่ปรุงอาหารและรับประทานอาหารพร้อมน้ำดื่มที่ถูกสุขลักษณะส่งผลให้นักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจการจัดโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). แนวทางการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กัญณัฎฐ์ กุลจรัสรัตน์. (2561). ความพึงพอใจของนักเรียนต่องานบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว

ณัฐยา ศรีวงศ์. (2557). การพัฒนาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านโคกสูง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ผลการประเมินเชิงประจักษ์โรงเรียนต้นแบบอาหาร ระดับประเทศ ประจำปี 2562 ของกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.kroobannok.com/87344.

ปาริชาติ ไตรหัตถทรัพย์. (2561). การศึกษาสภาพและแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วรรณาภา กาโยงแว่น. (2557). การประเมินโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านเมืองคลองอำเภอเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เสมอ สร้อยคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารโครงการอาหารกลางวันเพื่อความยั่งยืนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.