แนวทางการจัดการ แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

Main Article Content

ลีลาวดี รอดแล้ว
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส และแนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 36 คน และครู จำนวน 196 คน รวมจำนวน 232 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ภาพรวมทั้ง 7 ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านกัลยาณมิตร รองลงมาคือด้านบรรยากาศองค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านวิสัยทัศน์องค์กร ด้านโครงสร้างองค์กรและด้านการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ  2. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 คือ โรงเรียนจัดโครงสร้างที่สะดวกคล่องตัวในการปฏิบัติ คำนึงถึงความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล  จัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ผู้บริหารและครูสร้างความเข้าใจร่วมกัน เปิดโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นร่วมกันอย่างมีอิสระ ผู้บริหารสนับสนุนครูให้เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนกำหนดภาพความสำเร็จที่มาจากความต้องการของทุกฝ่าย พัฒนาครูให้สามารถผลิตพัฒนาสื่อการเรียนและนิเทศการจัดการเรียนรู้ และโรงเรียนมีผู้บริหาร ครูที่ยอมรับความคิดเห็นทั้งเหมือนและต่างกันได้ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตลดา หนูดอนทราย. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วิทยานิพนธ์ศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฉัตรชัย ทองเจริญ. (2556). คุณลักษณะการเป็นชุมชนแห่งสังคมการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. อุดรธานี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ดลนภา วงษ์ศิริ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ธีรยุทร รุจาคม. (2561). การดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่ม 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

นราพร จันทร์โอชา. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563.

แหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TBpt_PlOib4.

ภาชินี ภักดีมี. (2562). แนวทางการพัฒนาความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มินตรา ลายสนิทเสรีกุล. (2557). กลยุทธการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบท โรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา มจพ. (2557). การประกันคุณภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563.แหล่งที่มา: http://www.kmutnb.ac.th/qa.php.

สมัชชา จันทร์แสง. (2558). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุเทพ พงศ์ศรีรัตน์. (2556). ภาวะการเป็นผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: เอ็ซเปอร์เน็ท.

สำนักงานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) ”ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). สำนักนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) : ฉบับสรุป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

เสาวคนธ์ ฉัตรวิไล. (2561). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

หนึ่งฤทัย สีหะวงษ์. (2542). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

อำนาท เหลือน้อย. (2561). รูปแบบการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมาตฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.