การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาใน ยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

Main Article Content

ขวัญหล้า น้อยนวล
พิมผกา ธรรมสิทธิ์
สุกัญญา รุจิเมธาภาส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ปีการศึกษา 2563  จำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ แบบ EFA
          ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล มี 5 องค์ประกอบหลัก 31 ตัวแปร ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ด้านการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา  ได้ 14 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 9.634 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 31.078 องค์ประกอบที่ 2 ด้านวิสัยทัศน์และการพัฒนาตนเอง  ได้ 4 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 4.860  และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 15.676 องค์ประกอบที่ 3 ด้านบุคลิกภาพของผู้บริหารสถานศึกษา ได้ 5 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 4.538  และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 14.639 องค์ประกอบที่ 4 ด้านความรู้และความสามารถในการบริหาร  ได้ 5 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 3.657  และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 11.798 และองค์ประกอบที่ 5 ด้านความรับผิดชอบ ได้ 3 ตัวแปร มีค่าไอเกน เท่ากับ 3.368 และร้อยละของความแปรปรวนร่วม เท่ากับ 10.865 ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนร่วมได้ทั้งสิ้นร้อยละ 84.055 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม2563. แหล่งที่มา: https://www.sesao30.go.th/module/view.php?acafile=5cc7dd2d935

.pdf.

กลุ่มนโยบายและแผน. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2563 Action Plan. สุโขทัย : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา : http://sukhothai2.go.th/2020/ download/plan2563.pdf.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 (303-304). 28 กรกฎาคม 2559. อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) : ยุคปฏิรูปการศึกษาเพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ปทุมรัตน์ สีธูป. (2560). การพัฒนาคุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปวีณา ศรีนาราง. (2560). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

พลากร ขุริมนต์ และคณะ. (2561). อนาคตภาพของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ใรทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2562-2571). วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 20 (2), 29–40.

โยธิน นิลคช. (2561). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ14 ตุลาคม

แหล่งที่มา: http://58.181.147.25/ojsjournal/ index. php/ miniconference/ article /view/1634.

รัชภูมิ พระพรม. (2562). ความจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครพนม.

วิจารณ์ พานิช. (2557). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.gotoknow.org/blog/thaikm/434192.

วิรวรรณ จิตต์ปราณี. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภมาส วิสัชนาม. (2560 ). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา: http://sumontarsuksa.ac.th/en-us/2018-05-22-17-59-37/30-ict/171-schoolmanagement.html.

สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ

เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สมศักดิ์ เจริญพานิชเสรี. (2558). ผู้บริหารยุค. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.suphannapoom.com/boss-Article.html.

ฮานันย์ นาวินพัฒนรัตน์. (2554). คุณลักษณะที่เป็นจริง และพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของเจ้าหน้าที่ธุรการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1, 2 และ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Hair, J. F. J. B., W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. New Jersey: Prentice Hall.