การเสริมสร้างศักยภาพนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ปลอดสาร : หมู่บ้านหม้อแกงทอง

Main Article Content

ธัญญพัทธ์ มุ่งพัฒนสุนทร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างศักยภาพนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ปลอดสาร: หมู่บ้านหม้อแกงทอง” เป็นการศึกษาวิจัยและดำเนินโครงการพัฒนาชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลชุมชน ตลอดจนสำรวจความต้องการในการสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูป และจัดกระบวนการฝึกอบรมแบบปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs และหลัก 3P ตามแนวคิดการประกอบการทางสังคม เพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม แต่ก่อให้เกิดรายได้ การเก็บข้อมูลมีทั้งในรูปแบบเชิงคุณภาพและปริมาณ ด้วยการสำรวจ สังเกตการณ์ทั้งมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การระดมสมอง และการใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่าน Google Form กลุ่มตัวอย่างคือชาวบ้านหม้อแกงทอง เก็บในลักษณะเจาะจงกับผู้ที่สมัครใจในการให้สัมภาษณ์และมาเข้าร่วมกิจกรรมกับทางโครงการฯ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดจำแนกข้อมูลตามหมวดหมู่ วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูล และรายงานตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ จากการดำเนินการเก็บข้อมูลชุมชนและดำเนินโครงการฝึกอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลอดสารทั้งทางด้านอุปโภคและบริโภค จำนวน 2 กิจกรรม ได้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กล้วยอบเนยและกล้วยคลุกผงชีส และลูกประคบสมุนไพร ซึ่งวัตถุดิบพื้นฐานหลัก ๆ จะสามารถหาได้ในชุมชน ดังนั้นการลงทุนจึงต่ำมาก แต่ได้ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยมของตลาด โดยผลจากการสำรวจความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมฝึกอบรมผู้เข้าร่วมทุกคนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และมากกับการจัดกิจกรรมฝึกอบรมฯ ทั้ง 2 ครั้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.mis.ms.su.ac.th/MISMS01/PDF03/132_ 20190626_.pdf

ดวงพร ภู่ผะกา. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้มาตรฐาน : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 8 (1), 116–145.

ณิชกานต์ บัวอินทร์, ภมรรัตน์ สุธรรม และ สมคิด รัตนพันธุ์. (2559). การพัฒนาศักยภาพชุมชนด้วยแผนแม่บทชุมชนบ้านชายวัด ตำบลเสวียด อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3 (2), 193–212.

พันชิด ปิณฑะดิษ และคณะ. (2561). ความเต็มใจจ่ายและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวปลอดสาร. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6 (1), 149–162.

สยาม อรุณศรีมรกต และยงยุทธ วัชรดุล. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11 (3), 1–7.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 – 6. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 28 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/ewt_ w3c/main.php?filename=develop_issue

BLTBangkok.com. (2019). สำรวจเผยคนไทยชอปออนไลน์สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 9 มกราคม 2564. แหล่งที่มา : https://www.bltbangkok.com/bangkok-update/4774/

Mahittivanicha, N. (2019). สถิติ E-Commerce ไทยปี 2019 โดย Priceza.com. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561. แหล่งที่มา : https://www.twfdigital.com/blog/2019/11/thailand-e-commerce-stats-2019-by-priceza/

Salika.com. (2019). เจาะพฤติกรรมคนไทย ‘ช็อปออนไลน์’ ไม่แพ้ชาติใดในโลก ดันธุรกิจกอีคอมเมิร์ซไทยโตเป็นอันดับ 3 ของโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2561. แหล่งที่มา: https://www. salika.co/2019/04/13/thailand-shop-online-trend-2019/

Jeffrey, D. S. (2016). From millennium development goals to sustainable development goals. Online. Retrieved October 8, 2018. from: www.thelancet.com/journals/lancet/ article/P.11801406736(12)60615-0/fulltext.

IIED (International Institute for Environment and Development). (2016). The green climate fund accreditation process: Barrier or opportunity, sustainable development goals (SDGs) and post-2015 agenda. Online. Retrieved October 8, 201. from : www.iied.org

David, G. (2013). Policy: Sustainable development goals for people and planet. Online. Retrieved October 8, 2018. from : www.iied.org