ปัญหาการตีความหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

Main Article Content

ธนโรจน์ หล่อธนไพศาล

บทคัดย่อ

          ปัญหาการตีความหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นงานวิจัยเชิงเอกสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีรัฐธรรมนูญและการตีความรัฐธรรมนูญ  การตีความหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญของต่างประเทศและของประเทศไทย และสภาพปัญหาที่เกิดจากการตีความหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญของไทย ผลการวิจัยพบว่า1.การตีความรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นผู้ทรงสิทธิสุดท้ายในการตีความให้มีผลในทางกฎหมายซึ่งต้องชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงในเจตนารมณ์ปวงชนไปสู่รัฐธรรมนูญให้ได้โดยวิธีการตีความต้องยึดที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  ประวัติศาสตร์กำเนิดรัฐธรรมนูญ  โครงสร้างรัฐธรรมนูญ และคุณค่าทางรัฐธรรมนูญ  2.แนวคิดหลักนิติธรรมในต่างประเทศมีประวัติศาสตร์ยาวนานโดยเดิมเน้นในมุมมองด้านกฎหมาย ต่อมามีมุมมองด้านอื่นๆด้วยทำให้นิติธรรมมีมุมมองหลายด้านหลายมิติ ขณะที่แนวคิดหลักนิติธรรมของไทยเน้นที่มิติกฎหมายเป็นสำคัญและใช้กฎหมายเป็นจุดเริ่มต้นสร้างแนวคิดนิติธรรมในสังคมขึ้นมาซึ่งตรงข้ามต่างประเทศที่หลักนิติธรรมนั้นถูกสังคมสร้างขึ้นมาก่อนที่จะใช้ระบบกฎหมายรองรับในภายหลัง การตีความหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญของไทยต้องคำนึงถึงคุณค่าของรัฐธรรมนูญ  3.ปัญหาที่เกิดจากการตีความหลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญของไทย มี3ประการคือคำแปล องค์ประกอบ และเจตนารมณ์ แม้รัฐธรรมนูญมิได้ใช้คำว่านิติรัฐ แต่เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญต่อเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่ต้องการปฏิรูปสังคมอีกทั้งโครงสร้างระบบกฎหมายและโครงสร้างรัฐธรรมนูญที่มีรูปแบบไปในทางระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร การตีความนิติธรรมในรัฐธรรมนูญของไทยจึงควรมีความหมายและองค์ประกอบไปในทางความหมายของนิติรัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำชัย จงจักรพันธ์. (2560). หลักนิติธรรม ความหมาย สาระสำคัญ และผลของการฝ่าฝืน. สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2562. แหล่งที่มา: http://www.lrct.go.th/th/?p=5716

คณะอนุกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการบรรณาธิการในคณะกรรมการว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ. (2558). หลักนิติธรรม (The Rule of Law). ความหมายสาระสำคัญและผลของการฝ่าฝืนหลักนิติธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพีเอสพริ้นติ้งดีไซน์ จำกัด.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2553). หลักนิติธรรม.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ชวนพิมพ์50 จำกัด.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2544). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

ปรีดี พนมยงค์. (2526). ประชุมกฎหมายมหาชนและเอกชนของปรีดี พนมยงค์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิกรม เมาลานนท์. (2498). อัยการในเมืองอังกฤษ. วารสารดุลพาห. 2 (12), 85.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2552). การใช้และการตีความกฎหมายมหาชน. ในงานวิชาการรำลึกศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ครั้งที่ 13“100ปี ชาตกาล ศาสตร์ตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2555). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม. วารสารจุลนิติ. 9 (1 ), 49-67.

สํานักกรรมาธิการ 3 สํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สํานักรายงานการประชุมและชวเลข สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 7/2550 วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2550. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562. แหล่งที่มา: http://library2.parliament.go.th/giventake/content _ca/ r021950.pdf.

Lutz, Donald S. (2006). Principles of Constitutional Design .Cambridge: Cambridge Univer- sity.

Murphy, Walter. (2000).Constitutional Interpretation as Constitutional Creation. The 1999- 2000 Harry Eckstein Lecture, Irvine: Center for the Study of Democracy ,University of California.

Post, Robert C. (1990). Theories of Constitutional Interpretation. Representations Special Issue: Law and the Order of Culture.