การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Main Article Content

เมษา นวลศรี
กุลชาติ พันธุวรกุล
นริศรา จริยะพันธุ์
นิติกร อ่อนโยน
ศิริขวัญ บุญธรรม
สุชาวดี สมสำราญ
วิษณุ สุทธิวรรณ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 270 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดแบบตอบสนองคู่ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้เทคนิค Modifiied Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับของความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุป พบว่า  ความต้องการจำเป็นด้านการจัดการเรียนโดยภาพรวม มีค่าดัชนี PNImodified  เท่ากับ 0.37 (มากกว่า 0.35) ถือว่ามีความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องได้รับการพัฒนา และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (0.46) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (0.39) และ ด้านการพัฒนานักศึกษา (0.36) ตามลำดับ และทั้งสามด้านดังกล่าวถือว่าเป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ พื้นม่วง. (2556). การสร้างความเป็นเลิศด้านการบริการของพนักงานศูนย์สารสนเทศมหาวิทยาลัยโขทัยธรรมาธิราช จังหวดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ กิจกรรม Startup Thailand league ภายใต้โครงการกองทุนยุวสตาร์ทอัพ (Youth Startup Fund). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564ก). แผนปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีงบประมาณ 2564. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2564ข). การสำรวจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: http://plan.vru.ac.th/?p=6832.

บัญชา โพธิ์ทัย. (2551). การประเมินคุณภาพโครงข่าย Wi-Fi มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. โครงการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เรขา อรัญวงศ์ และคณะ. (2560). คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาวไลยอลงกรณ์สำหรับการศึกษายุค 4.0. ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. แหล่งที่มา: http://rdi.bru.ac.th/2018/wp-content/uploads/2020/08/แผนยุทธศาสตร์-มรภ-ระยะ-20-ปี-พ.ศ.2560-2579-ปรับปรุง11.pdf.

สำนักงานส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). สรุปจำนวนนักศึกษาคงอยู่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://acad.vru.ac.th/about_acad/FTES/2563/std_chart_nm_63_00.pdf

Best J. W. (1981). Research in Education. (4th Ed.). New Delhi: Prentice Hall Of India Pvt. Ltd..

Cohen, J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences. (2nd ed). New York: Academic Press.