การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ กลวิธีการอ่าน แบบร่วมมือและทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ 3) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ 4) เปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ 5) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ 6) รับรองรูปแบบการสอน 2PCE Model โดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดสาลวนาราม จำนวน 17 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบและเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ได้แก่ แบบฝึกตามรูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ 3) แบบสำรวจการใช้กลวิธี 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการวิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือ พบว่า รูปแบบการสอนชื่อ 2PCE Model มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ หลักการและวัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ และการวัดและประเมินผล มีกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมตัวและฝึกการอ่าน (2P) ขั้นการปฏิบัติภาระงานอ่าน (C) ขั้นประเมินผล (E) ผู้เชี่ยวชาญ 5 คนตรวจสอบว่ารูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมากและประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 80.07/80.20
2. การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ พบว่า ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ พบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า การใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. การศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อขั้นตอนการสอนของรูปแบบทั้ง 3 ขั้นในระดับมาก ได้แก่ ขั้นเตรียมตัวและฝึกการอ่าน (3.99) ขั้นการปฏิบัติภาระงานอ่าน (3.91) และขั้นการประเมินผล (3.67)
6. การรับรองรูปแบบการสอน 2PCE Model โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม ด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีในระดับมาก (3.99) ด้านความเป็นไปได้ในระดับมาก (3.91) ด้านความสอดคล้องของรูปแบบในระดับมาก (3.67) และด้านคู่มือการใช้รูปแบบในระดับมาก (4.28)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำ กัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์. (2545). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน Reading and Reading Promotion. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน Developmental Testing of Media and Instructional Package. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 7-20.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิธิมา สุทะพินธ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณแบบเน้นภาระงาน ร่วมกับการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และการใช้กลวิธีการอ่านสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเทคนิค โดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฤชวี ฉัตรวิริยาวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านแบบเน้นภาระงานบูรณาการการสอนอ่านเชิงกลยุทธ์แบบร่วมมือและเทคนิคสแคมเปอร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์แก่ผู้เรียนอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศ การสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์นครปฐม.
วิภาดา พูลศักดิ์วรสา. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเน้นภาระงานโดยใช้กลวิธีอภิปัญญาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สินีนาฏ วัฒนสุข. (2560) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการยุทธวิธีส่งเสริมการคิดขั้นสูงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2. Academic Journal of Buriram Rajabhat University. 9 (1), 195-217.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษา มะหะหมัด. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Breen, Michael P. (1987). Learner Contribution to Task Design. in Language Learning. UK: Prentice-Hall International Ltd and Lancaster University.
Bremer, C., Vaughn, S. Clapper, A., & Kim, A. (2002). Collaborative Strategic Reading (CSR): Improving secondary students’ reading comprehension skills. Research to Practice Brief: National Center on Secondary Education and Transition.
Duffy, G., Roehler, L., & Herrmann, B. (1988). Modeling Mental Processes Helps Poor Readers Become Strategic Readers. The Reading Teacher. 41(8), 762-767.
Grabe, William. (2009). Reading in a Second Language. UK: Cambridge University Press.
Jenny Mendieta et al. (2015). Fostering Reading Comprehension and Self-Directed Learning in a Collaborative Strategic Reading (CSR) Setting. Íkala, Revista de Lenguaje y Cultura, Medellín, Colombia. 20 (1), 15-42.
Joyce, Bruce R., Weil, Marsha., and Calhoun, Emily. (2009). Models of Teaching. Boston: Pearson Education inc.
Klingner, J, k., et al. (2001). Collaborative Strategic Reading. Longmont: Sopris West.
Klingner, J. & Vaughn, S. (1999). Promoting reading comprehension, content learning, and English acquisition through collaborative strategic reading (CSR). The Reading Teacher. 52 (7), 738-747.
Masoud Zoghi, Ramlee Mustapha & Tengku Nor Rizan Bt Tengku Mohamad Maasum (2010). Collaborative Strategic Reading with University EFL Learners. Journal of College Reading and Learning. 41 (1), 67-94.
Nunan, D. (1989). Designing Tasks for Communicative Classroom. London: Cambridge University Press.
ParamitaDharmayanti, P. A., et al. (2013). The Effect of Modified Collaborative Strategic Reading and Vocabulary Mastery on the Reading Competency of the Second Semester Students of English Education Study Program of Mahasaraswati Denpasar University. e-Journal Program Pascasarjana Universitas Pendidikan Ganesha Program Studi Pendidikan Bahasa Inggris.
Rogers, V. Carmen. (1988). Language with Purpose: Using Authentic Material in the Foreign Language Classroom. Foreign Language Annuals. 21 (5), 468-475.
Williams, E. (1992). Essential language teaching series. London: Modern English.