ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด
สถิรพร เชาวน์ชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพิษณุโลก 4) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 306 คน ได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก
          2. ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก
          3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก มีความสัมพันธ์ในทางบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.291- 0.700
          3. ผลการพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ตัว ได้แก่ ความเพียงพอของสื่อ นวัตกรรมเพื่อการศึกษา (X5) และการจัดแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา (X4) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.736 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 54.10 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ 0.413 ซึ่งสามารถเขียนสมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้


            = 1.123+0.404X5+0.349X4


          y = 0.423X5+0.358X4

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: หจก.มีน ซัพพลาย.

ขวัญศิริ บุญสรรค์. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

อธิวัฒ พันธ์รัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา