การศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง แหล่งอารยธรรมในภูมิภาคเอเชีย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหอวัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E)

Main Article Content

ศตวีร์ ทีภูเวียง
เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม
สุทธิพร แท่นทอง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) และ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/15 โรงเรียนหอวัง ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E)
โดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.08 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.96 สูงกว่าคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.95 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.= 0.66)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา-

ลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวรรณ อิสโร. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ และทักษะการคิดอย่างมี

วิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหา ความรู้ 7 ขั้น. ปริญญานิพนธ์กศ.ม. การมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรชนก ศรีบุญเรือง. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์และทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7E).

วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. จิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่งนภา แก้ววัน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสารและสมบัติของสาร โดยใช้การเรียนรู้ แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เอกสารการประชุม

วิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 : บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน. 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ และอุษา ชูชาติ. (2545). ฝึกสมองให้คิดอย่างมีวิจารณญาณ. กรุงเทพมหานคร: วัฒนา พานิช.

สมสมร ทีภูเวียง. (2552). ผลของการจัดการเรียนแบบ CIRS ที่มีต่อมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาราชภัฏพิบูลสงคราม.

สุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2544). Constructivism กับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้นจำกัด.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2553). ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มติชน จำกัด(มหาชน).

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2547). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ไสว ฟักขาว. (2544). หลักการสอนสำหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: เอมพันธ์.

อรพิณ พัฒนผล. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์เขต 1. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.การวัดผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.