การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของ พหุนามดีกรีสอง โดยการใช้ชุดกิจกรรม ร่วมกับเทคนิค Box Method สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนทวีธาภิเศก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการใช้ชุดกิจกรรม ร่วมกับเทคนิค Box Method สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนทวีธาภิเศก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง หลังใช้ชุดกิจกรรม ร่วมกับเทคนิค Box Method สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ผ่านเกณฑ์มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 45 คน โรงเรียนทวีธาภิเศก ที่กำลังศึกษาใน ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ผู้วิจัยเลือกนำมาใช้ คือแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้ชุดกิจกรรม ร่วมกับเทคนิค Box Method และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ชนิดเขียนตอบ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 73.89 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.40 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยการใช้ชุดกิจกรรม ร่วมกับเทคนิค Box Method สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนทวีธาภิเศก กับเกณฑ์ร้อยละ 50 พบว่า นักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชูฉกาจ ชูเลิศ. (2561). การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาสัดส่วน โดยใช้สื่อ Box Method ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. มติชนออนไลน์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564.แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/news/34504
มนตรี วงษ์สะพาน. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยใช้สื่อการเรียนรู้จากท้องถิ่น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19 (2), 71-82