ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทยนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินเดีย ในยุคแรกที่ประเทศไทยได้มีการสร้างพระพุทธรูปเริ่มตั้งแต่สมัยอาณาจักรทวารวดี พระพุทธศาสนาในอาณาจักรนี้ส่วนมากเป็นเถรวาท ซึ่งมีความสัมพันธ์กันกับทางอินเดียฝ่ายใต้ พุทธศิลป์ในยุคนี้ได้สร้างขึ้นมามากมาย ตั้งแต่วัตถุชิ้นใหญ่ลงมาถึงวัตถุชิ้นเล็ก วัสดุที่ใช้ในการหล่อหรือสร้างองค์พระส่วนมากจะเป็น ดินเผา ศิลา ทอง สำริด ปูน งานหล่ออิฐถือปูน และไม้ เป้าหมายหลักในการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทยก็เพื่อเป็นพุทธานุสสติ ตลอดทั้งเป็นการสร้างอุทเทสิกเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงพระพุทธองค์ นอกจากนี้ คติในการสร้างพระพุทธรูปยังเป็นประเพณีนิยมของพุทธศาสนิกชนชาวไทย เพราะมีเรื่องอานิสงส์อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างอีกด้วย
Article Details
References
จิตร บัวบุศย์. (2503). สกุลศิลปะพระพุทธรูปในประเทศไทยมรดกวัฒนธรรมไทย. พระนครศรีอยุธยา: อำพลพิทยา.
ซิว ซูหลุน. (2549). ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มติชน.
นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2553). วัฒนธรรมและศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปิ่น มุทุกันต์,พ.อ. (2527). ประมวลศัพท์ศาสนา สำหรับนักศึกษาและประชาชน. พระนครศรีอยุธยา: คลังวิทยา.
พระประสงค์ ปริปุณฺโณ.(2550). กวีธรรมะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.dhammathai.org/store/poet/poet19.php.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2558). กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิม์จันทร์เพ็ญ.
พระมหาประภาส ปริชาโน (แก้วเกตุพงษ์) และพระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน (ด้วงวงศ์). (2562). วิวัฒนาการพุทธศิลป์ในประเทศอินเดีย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 21 (1), 53-61.
พระมหาประภาส ปริชาโน. (2553). มองพุทธให้เข้าใจใน 5 นาที. กรุงเทพมหานคร: ธิงค์บียอนด์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพมหานคร: ศิริวัฒนาอินเตอร์ พริ้นท์ จำกัด.
สันติ เล็กสุขุม. (2534). ศิลปะเชียงแสน (ศิลปะล้านนา) และศิลปะสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
สุภัทรดิศ ดิศกุล, ศ.มจ. (2510). ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร.
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์). (2514). พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 22). พระนครศรีอยุธยา: เซ็นต์หลุยส์.