ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปานหทัย ปลงใจ
กัลยมน อินทุสุต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 181 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างของ Cohen, Manion and Morrison (2011 : 147) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α - Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้การทดสอบ t-test  และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ครูมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
          2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน สรุปได้ดังนี้
             2.1 ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียนที่พบความแตกต่าง โดยครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีมีความคิดเห็นมากกว่าครูที่มีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป
             2.2 ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการกำหนดภารกิจของโรงเรียนที่พบความแตกต่าง โดยครูที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกันทั้งครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 5 ปีขึ้น ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 2-5 ปี และครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 2 ปี มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพล พัชนี. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัศนา วรรณภา. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธัญชนก บุญทอง และคณะ. (2560). ศึกษาเรื่องภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วารสารรมยสารม. 15 (2), 159-169.

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเกาะช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิศวะ ผลกอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ดารศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ปฏิรูปการเรียนรู้สำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำรักนายกรัฐมนตรี.

อัศนีย์ สุกิจใจ. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิชาการตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ ในจังหวัดนครสวรรค์. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Best. J.W. and Kahn J.V. (1993). Research In Edution. (7 th ed). Boston, M.a : Allyn And Bacon.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th Ed.). NewYork: Routledge.

Likert, Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M.Ed.. Attitude Theory and Measurement. New York : Wiley & Son.