การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อ ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ ( 5E ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้าสมุทรปราการ

Main Article Content

อรพรรณ นวลจันทร์
อัมพร วัจนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหลของนักเรียนชั้นปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 จำนวน 37 คน ที่กำลังเรียนอยู่ใน ภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2563  โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า  สมุทรปราการ ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล จำนวน 5 ชุดกิจกรรม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะ จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ของไหล จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ ( 5E ) ดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มทดลองโดยใช้ชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลองเรื่องของไหล  โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อ ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ของไหล และวัดความพึงพอใจจากแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล  โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อ ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E )
          ผลการวิจัย พบว่า (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหลของนักเรียนชั้นปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลองเรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อ ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 80.20/81.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยตั้งไว้ และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวีดีโอสาธิตการทดลอง เรื่องของไหล โดยใช้ Google Classroom เป็นสื่อ ร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะ( 5E ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ ไชยเสนา. ( 2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาวงจรไฟฟ้า กระแสสลับ วิธีการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ฉันท์ทิพย์ สีลิตธรรมและพรเพ็ญ เอกเอี่ยมวัฒนกุล. (2559). การศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยผ่านกูเกิลคลาสรูมของนักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 1 (1), 20-25.

ธันยากร ช่วยทุกข์เพื่อน. (2557). ปัจจัยและลำดับความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. วารสารสุทธิ ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 28 (85). 204-218.

นัฏฐิกา สุนทรธนผล. ( 2562 ). การศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านกูเกิล คลาสรูม รายวิชาประวัติดนตรีตะวันตก. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 21 (1), 73-86.

ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชั่น Google classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิทย์ มูลคําและอรทัย มูลคํา. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

สุนทร เสี้ยวสกุล.(2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ วิชาระบบเสียง ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสาธิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อาทิตย์ หมื่นคิด. (2561). การพัฒนาชุดกจิกรรมการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม Google Classroom เป็นสื่อรายวิชาฟิสิกส์ 4 เรื่อง กฎของโอห์มและการต่อตัวต้านทานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา. คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การจัดและตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5 (2), 67-76.