ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยเปิดตารางของ Krejcie & Morgan และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม(Questionnaire) ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่าตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.80 ขึ้นไป และหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α - Alpha Coefficient) ของครอน บาค (Cronbach) ได้เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ใน 4 ด้าน คือ 1. ด้านการมีอิทธิพล อย่างมีอุดมการณ์ 2. ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 3.ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และ 4. ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงจากมากไปน้อยได้แก่ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญาและการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ (2) ครูที่มีเพศต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มอำเภอกุยบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กรรณิกา บุญช่วย. (2561). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จักรพันธ์ พันธ์หินกอง. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2550). ทักษะภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: มัลติอินฟอร์เมชันเทคโนโลยี.
ฐิติพงศ์ คล้ายใยทอง. (2557). พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่สระบุรี เขต 1 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพ สตรี.
นารินทร์ เดชสะท้าน. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาฬสินธุ์.
ไมตรี คงนุกูล (2553). การศึกษาภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติดินเคค. สารนิพนธ์ กศม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วุฒิศักดิ์ ชูชื่น และ สกุลรัตน์ กมุทมาศ. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโลโลยีอิสเทิร์น. 11 (1), 69-76
ศิริพงษ์ เศาภายน. (2558). หลักและกระบวนการบริหารการศึกษาทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: มิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ.
สุชาดา รังสินันท์. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
สุธาสินี สิงห์ประโคน. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bass,B.M.&Avolio,B.J.(1990).Developing transformational leardership: 1992 and beyond. Jourmal of Europena Industrial Training. 5 (10), 21-27.