แนวทางการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วิยะดา อุทธะคำ
ศิวัช ศรีโภคางกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงอายุ  2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา และ 3) แนวทางในการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารงานวิจัย และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 2 คน และสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในอำเภอหนองเรือจังหวัดขอนแก่น จำนวน 18 คน เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการแก้ไขปัญหา และแนวทางในการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงประจักษ์มาวิเคราะห์ร่วมกับเอกสารที่เกี่ยวข้องดำเนินการตีความและสร้างข้อสรุปโดยมีจุดยืนอยู่บนบริบทของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. การบริหารจัดการของชมรมผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองเรือนอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย 5 มิติ คือ มิติด้านการมีส่วนร่วม มิติด้านการกระจายอำนาจ มิติด้านการประชาสัมพันธ์ มิติด้านสังคมเศรษฐกิจ และมิติด้านสุขภาพ
          2. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุฯ ประกอบด้วย 6 มิติ คือ มิติด้านการมีส่วนร่วม มิติด้านการกระจายอำนาจ มิติด้านการประชาสัมพันธ์ มิติด้านสังคมเศรษฐกิจ มิติด้านสุขภาพ และมิติด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม แนวทางในการแก้ไขปัญหา
          3. แนวทางในการบริหารจัดการชมรมผู้สูงอายุฯ ประกอบด้วย 5 มิติ คือ มิติด้านการมีส่วนร่วม มิติด้านการกระจายอำนาจ มิติด้านการประชาสัมพันธ์ มิติด้านสังคมเศรษฐกิจ และมิติด้านสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2557). สถิติประชากรและบ้าน - จำนวนประชากรแยกรายอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/upstatage.php.

สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ. (ม.ป.ป.). คู่มือผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

สวรรยา ธรรมอภิพล และคณะ. (2561). ปัจจัยความสำเร็จของชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่แค จังหวัดเพชรบุรี. Veridian E-Journal. 11 (2), 352 – 365.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2559). การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศไทยภายใต้กรอบพันธกรณีองค์การสหประชาชาติ : แผนปฏิบัติการระหว่างประเทศมาดริด ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุ (The Madrid Interna- tional Plan of Action on Ageing : MIPAA). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: http://www.dop.go.th/th/know/3/page=2.

ศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์. (2563). สังคมสูงวัย ความท้าทายประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา: http://www.dop.go.th/th/know/3/276.