คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของ ครูในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อรวี แสงทอง
รัตนา กาญจนพันธุ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครูในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยจำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนจากการเปิดตารางของ Cohen ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 152 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมีค่าความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ .80 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe
          ผลการวิจัยพบว่า 1) พบว่า  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมพบว่า มีการรับรู้อยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับ ได้แก่ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความริเริ่มสร้างสรรค์
ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างแรงจูงใจ  ด้านการสร้างชุมชน ด้านการติดต่อสื่อสาร และ ด้านบุคลิกภาพ
          2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการรับรู้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านคุณธรรมและจริยธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นเฉลี่ยสูงกว่าครูที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี 2.1) ครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนเครือสหวิทยาเขตเมืองปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

กรกนก ศิริวงษ์. (2557) .คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนสอนคนตาบอดในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง ) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

ธันยชนก คงเมือง. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุษบา คำนนท์ . (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 .งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิพัฒน์ กล้าผจญ.(2558). การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามทัศนะของครู กลุ่มเครือข่ายทัพบดินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 . งานนิพนธ์.กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) .บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2550). ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร: ปัณณรัชต์.

วสันต์ บัวชุม และคณะ. (2562) . คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 7 (27), 138-147.

ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์. ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สุพี โสมโสภา (2560) . คุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์ของครู กลุ่มโรงเรียน สรรคบุรี 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณพิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสววรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). เอกสารชุดฝึกอบรมผู้บริหาร สถานศึกษาระดับสูง เล่มที่8. กรุงเทพมหานคร: คัมปายอิมเมจจิ้ง.

สมพงษ์ นาคเจือ. (2558). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของ ข้าราชการครูโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory, research, and practice . (6th ed.). Boston: McGraw-Hill.

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership: A survey of theory and research. New York: Free Press.