ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขต เบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตามระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามสัดส่วนแต่ละโรงเรียนและการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) เท่ากับ 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขต เบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3) ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขต เบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
เกศริน เพ็ชนะ. (2560). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารการศึกษาของโรงเรียนอู่ทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-7_1510886964_58224 76441 .pdf.
จรรยา ใจเอื้อ. (2560). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเครือข่ายฯ ตานี - ปรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstract Data/viewIndex/1580ru.
ทิวาพร อยู่เย็น. (2561). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1992 .ru.
บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วันวิสา บุญประเสริฐ. (2558). ความคิดเห็นครูที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนลาดปลาเค้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
สุจารี เส้งเสน. (2558). ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสังกัดเทศบาลเมืองปากพนังอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/96.ru.
อัญวีณ์ สาระฉัตรภิรมย์. (2559). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th /index.php/abstractData/viewIndex/1660. ru.
Krejcie, R. V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.