ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

อาภาภรณ์ ก้อนสี
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีการนิเทศภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตรัชโยธิน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในโรงเรียนในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2563 โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Cohen ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 241 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ และสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง.20-.80 และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .982  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่
          ผลการวิจัย พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความความพึงพอใจต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขต  รัชโยธิน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2  โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความพึงพอใจต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในสหวิทยาเขตรัชโยธิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำแนกตามประสบการณ์  ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน  ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น  ด้านการวางแผนการนิเทศ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   


     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เก็จกนก เอื้อวงค์. (2555). การนิเทศในสถานศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โกมล จันทร์ศิริ. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการจัดกิจกรรมนิเทศภายในโรงเรียนในเครือข่าย บริหารสถานศึกษาแบบบูรณาการลำดวน จังหวัดสุรินทร์. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา . กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ญาวีรินจน์ ทองสุขเจริญ. (2560). ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศภายในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนตะวันออกพัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทร พงษ์เจริญไทย. (2559). การดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2561). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุวิทวัส หิรัญสินสุนทร. (2559). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. 2563. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อินเตอร์เทค พริ้นติ้ง จำกัด.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาใน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Cohen, L., & Morrision, K. (2011). Research methods in eduction. (7 th ed). New York : Routledge