ทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูใน สหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทัศนคติของครูที่มีต่อทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ใช้ตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของโคเฮ็นด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 241 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบประมาณค่า จำนวน 40 ข้อ มีค่าเฉลี่ยความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.60 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคแอลฟ่า เท่ากับ .994 สถิติการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่วุฒิการศึกษาต่างกันมีทัศนคติต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) ครูที่ประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีทัศนคติต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านทางเทคโนโลยีและดิจิทัล และด้านการสื่อสาร ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านความคิดสร้างสรรค์ ไม่พบความต่าง จึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลวิจัยพบว่าต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในภาพรวมและรายด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ต่างกัน 1 คู่ คือ ประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปี กับ 10 ปีขึ้นไป ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความต่าง
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
ธีรศักด์ สารสมัคร และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา 4.0 สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นคร เดชพันธุ์. (2557). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 4 (3), 225-234.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มนัสวี ศรีนนท์ และ พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2562). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามุฏราชวิทยาลัย. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม . 4 (1), 15-22.
รชฏ ทนวัฒนา. (2560). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://61.19.238.50/StudentServe/input/thesis/[1][080218103446].pdf.
ศรสวรรค์ บุญณกรชัย. (2561). ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ศึกษาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2551). โครงการพัฒนาสมรรถนะของครูตามระบบการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
Cohen, L., Minnion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7th ed.). New York: Routledge