ความคิดเห็นของครูที่มีต่อวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
1). เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 6
2). เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางวิชาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 265 คน จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ผลการทดสอบ โดยใช้สถิติ t (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่าง จึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของครูที่มีต่อวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรับผิดชอบ 2. ด้านความซื่อสัตย์ 3. ด้านความอดทน 4. ด้านตรงต่อเวลา 5. ด้านความเชื่อมั่นในตนเอง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่ม 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กนิษฐา ไทเตชะวัฒน์. (2531). ความคิดเห็นเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่อยู่ในครอบครัวที่มีเฉพาะบิดาหรือมารดาหรือมีทั้งบิดามารดา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขจิตตา นพโสภณ. (2562). ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองขาหยั่งสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤมล ณรงค์วิชัย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาวินัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามความคิดเห็นของ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). วินัยในตนเองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564.แหล่งที่มา: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/149163/109531
บุษบา คำนนท์. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ในทัศนะของครูโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑพิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2556). การศึกษาอิสระ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทมิตรภาพ-การพิมพ์ และสติวดิโอจำกัด
โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์. (2560). รายงานประจำปีสถานศึกษา ปี 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.absornsawan.ac.th.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. 2553. แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). : ฉบับสรุป.กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จํากัด
สุรเกียรติ จอมไพรศรี. (2550). การพัฒนาวินัยนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.