ความพึงพอใจของครูที่มีต่องานแนะแนวในสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมยมศึกษา เขต2 กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ลลิตา แขกรัมย์
อำนวย ทองโปร่ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่องานแนะแนวในสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร (2) และเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่องานแนะแนวในสถานศึกษา จำแนกตาม วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน โดยใช้หลักการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ ครูในสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 662 คน จากการเปิดตารางสำเร็จรูปของ Cohen ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คน และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 35 ข้อ ตรวจสอบความเที่ยงตรง (IOC) อยู่ระหว่าง .80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ Cronbrach ได้ค่า .95 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่  
          ผลการวิจัย พบว่า ครูมีความพึงพอใจของครูที่มีต่องานแนะแนวในสถานศึกษา กลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 กรุงเทพมหานคร ด้านบริการสำรวจข้อมูลรายบุคคล ด้านบริการสารสนเทศ ด้านบริการให้คำปรึกษา ด้านบริการจัดวางตัวบุคคล และด้านบริการติดตาม
โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่องานแนะแนวใน
โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูมีประสบการณ์ในการทำงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แนวทางการจัดการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554. กรุงเทพมหานคร: สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.

ตริตราภรณ์ เดวิเลาะ. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริการแนะแนวในโรงเรียนมัธยม อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1097.ru

ธีราภรณ์ สุ่มมาตย์. (2559). ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานแนะแนวตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนวัดตะพงนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. งานนิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนม ลิ้มอารีย์. (2548). การแนะแนวเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พรวลัย อริยะรัศมีทรัพย์. (2554). การศึกษาปัญหาและความต้องการบริการแนะแนวของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาศรีนครินทรวิโรฒ.

ศราวณี ศรีพั้ว. (2555). ปัญหาในการปฏิบัติงานของครูแนะแนวในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

อรินทรา อยู่หลาบ. (2560). การบริหารกับการดำเนินงานแนะแนวของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cohen, L., Manion, L., & Morrision, K. (2011). Research methods in eduction. (7 th ed). New York: Routledge

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. New York : Mc Graw – Hill Book.

Likert, Rensis. (1961). New patterns of managemaent. New York: McGraw-Hill Book Company.