ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 2

Main Article Content

เนตรนภา สุวรรณ์
ชนมณี ศิลานุกิจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ จำแนกตามเพศและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือครูกลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 248 คน     โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .977 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่าความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ระดับความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน และอยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน เรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรกดังนี้ แบบร่วมมือ แบบประนีประนอม แบบยอมให้ และด้านที่มีค่าต่ำสุดคือแบบหลีกเลี่ยง  2. ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ครูที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตรักษ์ ปฐมฐานะกุล. (2557). พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยลัยราชภัฏธนบุรี.

กัณฐภรณ์ นามฉิม. (2557). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

กาญจนา ประวรรณรัมย์. (2561). การบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

จีราลักษณ์ วงษ์แก้ว. (2562). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยลัยทักษิณ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะศักดิ์ ชนะชัย. (2557). การบริหารความขัดแย้งของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.secondary2.obec.go.th.

อัจฉรา ลิ้มวงษ์ทอง. (2557). การบริหารความขัดแย้งในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ บุ๊คส์ ทู ยู.