การบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมมีอุปการะมากของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

พระมหาวิรัตน์ จารุวํโส (ดูหฤคำ)

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมมีอุปการะมาก 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมมีอุปการะมากของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพื้นฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุป
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมมีอุปการะมากของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.04, S.D. = .36) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา ( = 3.05, S.D. = .35) รองลงมา คือ ด้านการวัดผลประเมินผล ( = 3.04, S.D. = .38) และด้านการจัดการหลักสูตร ( = 3.04, S.D. = .34) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ( = 3.02, S.D. = .35)
          2. ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมมีอุปการะมากของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ใน 4 ด้านดังนี้ 1) การจัดการหลักสูตร พบว่า สถานศึกษาควรสำรวจ สอบถามความต้องการของชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดทำหลักสูตรนั้น 2) การจัดการเรียนการสอน พบว่า สถานศึกษาควรจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน ส่งเสริมให้ครูวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การวัดผลประเมินผล พบว่า สถานศึกษาควรส่งเสริมให้งานวัดผลมีฐานข้อมูลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำระเบียบปฏิบัติให้สอดคล้องเป็นแนวเดียวกับ สพฐ. 4) การนิเทศการศึกษา พบว่า สถานศึกษาควรจัดทำเอกสารคู่มือการนิเทศกำหนดปฏิทินในการนิเทศอย่างชัดเจน มีการศึกษาดูงานด้านระบบการนิเทศภายใน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

เกรียงไกร ปัญญาประเสริฐกุล. (2563). การบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยนครราชสีมา.

จิรภิญญา จตุรพรโอภากุล. (2562). คุณภาพการปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูนา จารง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิมล เดชะ. (2559). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนดีประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้อที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วรรณกร เรือกิจ. (2558). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สารินทร์ เอี่ยมครอง. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.kkzone1.go.th/ bookdetailPrint. php? news_id=8173.

อภิชา พุ่มพวง. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชบูรพา.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607–610.

Lee J. Cronbach. (1971). Essentials of psychological testing. (4 ed.). New York: Harper & Row.

Miller, Van. (1965). Administration of American School. New York: Macmillan Pubishing.