แนวทางการพัฒนาแกนนำในการแก้ไขปัญหาวาตภัยและอุทกภัย ของอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.บริบทที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดปัญหาวาตภัยและอุทกภัยของอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2.เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแกนนำในการแก้ไขปัญหาวาตภัยและอุทกภัยของอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบบันทึกการสังเกต มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มแกนนำและผู้สูงอายุ
ในชุมชน จำนวน 16 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยพิจารณาจากบทความทางวิชาการ รายงานวิจัย เอกสารของหน่วยงานในชุมชน เอกสารส่วนบุคคล ข่าวท้องถิ่น การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และนำเสนอข้อค้นพบโดยพรรณาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า
1. บริบทที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดปัญหาวาตภัยและอุทกภัยของอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า มีสาเหตุมาจากปริมาณฝนตกมากกว่าทุกปีจึงมีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมชุมชน ประกอบกับมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมากขึ้นส่งผลให้มีการพังทลายของภูเขา อีกทั้งคลองในพื้นที่มีแนวโค้ง คดเคี้ยวและถนนที่สร้างผ่านชุมชนได้สร้างตั้งฉากขวางกับแนวน้ำไหลผ่าน ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำให้ไหลผ่านไปได้ทัน น้ำจึงล้นตลิ่ง มีตะกอนทราย และต้นไม้ได้ปะทะและอุดตันทางน้ำ ทำให้น้ำเอ่อล้นสูงไหลบ่าท่วมบ้านเรือน พื้นที่การเกษตร และเป็นสาเหตุให้คนในชุมชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
2. แนวทางการพัฒนาแกนนำในการแก้ไขปัญหาวาตภัยและอุทกภัยของอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การสร้างแกนนำที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ชุมชน กำหนดทิศทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ศึกษาบริบทและข้อมูลชุมชนมาทำความเข้าใจเพื่อหาทางแก้ไข เชื่อมโยงสู่การหาแนวทางสู่ฟื้นฟูพื้นที่ พัฒนาภาคการเกษตรและแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งบ่งชี้ถึงผลลัพธ์ได้ในลักษณะ “การสร้างผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ร่วมกันสู่ชุมชนนักปฏิบัติ” เพื่อฟื้นฟู พัฒนา และต่อยอดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
และยั่งยืน
Article Details
References
กำไล สมรักษ์ และอุไร จเรประพาฬ. (2560). รูปแบบการดำเนินงานของทีมประสานวิชาการโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9 (6), 482-495.
เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2560). การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการวางแผนจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพมหานคร: โครงร่างการวิจัยความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2563). ทางรอดหรือทางล่ม : ประวัติศาสตร์ชุมชนยุคหลังเหตุการณ์วาตภัย (ปี พ.ศ. 2505 – 2525) กรณีศึกษา อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6 (5), 43-52.
เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2563). ประวัติศาสตร์ชุมชนยุคการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 5 (3), 83-91.
วันชัย ธรรมสัจการ และอัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์. (2561). พลวัตเครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกับการพัฒนาคนและชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 26 (1), 34-62.
ศูนย์ข้อมูลไทยรัฐ. (2562). 56 ปี ฟันฝ่า “มหาภัย” ชีวิตต้องสู้ “คนใต้” (ตอนจบ). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/newspaper/columns/1463464.
สมจิต แดนสีแก้ว และคณะ. (2561). การพัฒนาคนไทยสู่การมีชีวิตที่ยั่งยืน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36 (2), 214-221.
สยามรัฐออนไลน์. (2561). ตื่นตา!!! ซากกะทูนหมู่บ้านวิปโยคโผล่พ้นเมืองบาดาลในรอบ 30 ปี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://siamrath.co.th/n/46040.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน. (2563). ประวัติอำเภอพิปูน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: istrict.cdd.go.th/phipun/about-us/ประวัติความเป็นมา/.
อัศวิน หนูจ้อย. (2559). การพัฒนาผู้นำชุมชนแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 16 (2), 23-31.