ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยใช้การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการเปิดตาราง ใช้วิธีการการสุ่มอย่างง่าย ได้จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบ F-test แบบวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) เมื่อพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Post hoc Comparison)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความแตกต่างกัน
Article Details
References
จันทร์เพ็ญ พวกกล้ากวีปฐม. (2560). ความคิดเห็นของครูที่ต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 6. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/ index.php/ abstractData/viewIndex/1740.ru
ดวงดาว ภูกา. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายการศึกษาผานางคอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ดาราวรรณ ทุ่งกาวี. (2560). ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ธารทิพย์ ไชยโวหารและคณะ. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูของโรงเรียนในสหวิทยาเขตน้ำพอง-กระนวน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 . สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บรรชา ใจกล้า. (2561). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสหวิทยาเขต เมืองเกษปทุม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1892.ru
บุษบา อินทร์จ้อย. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในเขตตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาครจังหวัดสมุทรสาคร. คณะศึกษาศาสตร์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และ กัลยมน อินทุสุต. (2558). EDA 6135 การบริหารงานวิชาการ (Academic administration). กรุงเทพมหานคร: บริษัทมิตรภาพการพิมพ์และสติวดิโอ จำกัด.
ยุวดี ชุรี. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนในกลุ่ม อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal .ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1805.ru
รุ่ง แก้วแดง. (2542). ครูกับการพัฒนาตนเอง. วารสารข้าราชการครู. 19 (3), 37-38.
ลัดดาวัลย์ ใจไว. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ คงไว. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมในกลุ่มอำเภอปัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 37. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/ index.php/ abstractData /viewIndex/1808.ru
สมประสงค์ ดอกมะณี. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สังกัดกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/622.ru
สายนภา ดาวแสง. (2559). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุพัตรา จันทร์เหลือง. (2559). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2545). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่อง รูปแบบที่คัดสรร. กรุงเทพมหานคร: เอสพีเคเปเปอร์แอนด์ฟอร์ม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research methods in education. (7 th ed.). New York: Routledge.
Likert, Rensis.(1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill Book Company.