ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จำแนกตามตำแหน่ง และระยะเวลาการปฏิบัติงานในโรงเรียนปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในการดำเนินการกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในโรงเรียนสหวิทยาเขต จำนวน 234 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่
จากการศึกษาพบว่า ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตปิยมิตร ตามความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมาก โดยครูที่มีตำแหน่งต่างกันมีความคิดเห็นต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเคารพตนเองและผู้อื่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีตำแหน่ง ครู คศ.2–ครู คศ.4 มีความคิดเห็นสูงกว่าครูที่มีตำแหน่งครูผู้ช่วย–ครู คศ.1 นอกนั้นไม่แตกต่าง และครูที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานในโรงเรียนปัจจุบันต่างกันมีความคิดเห็นต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเคารพตนเองและผู้อื่น และด้านการให้ความรู้แก่ตนเองและผู้อื่นแตกต่างกัน นอกนั้นไม่แตกต่าง
Article Details
References
กรกนก แขดวง และคณะ. (2561). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดีบนโลกดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา. (2560). การรู้เท่าทันการสื่อสารกับการขับเคลื่อนวาระปฏิรูปสังคมไทยในยุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา: https://so05.tci-thaijo.org /index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/243694.
ต้องตา จำเริญใจ. (2561). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปอส์ ไกรวิญญ์ และบัญชา ชลาภิรมย์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณากร พรประเสริฐ และรักษิต สุทธิพงษ์. (2562). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. การค้นคว้าอิสระ. สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Al-Zahran, A. (2015). Toward Digital Citizenship: Examining Factors Affecting Participations
and Involvement in the Internet Society among Higher Education Students. International Education Studies.
Chris, A. Suppo. (2013). Digital Citizenship Instruction in Pennsylvania Public School: School Leaders experienced beliefs and current practices. Doctor of Education, Indiana University of Pennsylvania.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2011). Research Methods in Education. (7th ed.). London: Routledge.
Eric, S., and Jared, C. (2014). The New Digital Age: Reshaping the Future of People, Nations
and Business. London, UK: John Murray.
Hollandsworth, R., Dowdy, L. and Donovan, J. (2011). Digital Citizenship in K-12: It Takes a
Village. Techtrends Tech Trends. 55 : 37-47.
Jeremy, Riel. (2012). The Digital Literate Citizen: How Digital Literacy Empowers Mass Participation in the United States. Georgetown University W&shington, D. C..
Meghan Bogardus Cortez. 2017. Putting a Focus on Media Literacy in the Digital Age. Online. Retrieved on 19 January 2021. From: https://edtechmagazine.com/k12/article/2017 /03/putting-focus-media-literacy-digital-age
Mike Ribble. (2011). Digital Citizenship in Schools. (2nd ed). Printed in United States of America.
Mike Ribble. (2015). Digital Citizenship in Schools: nine elements all students should know. Online. Retrieved on 6 October 2020. From: https://www.digitalcitizenship.net/nine- elements.html
UNESCO. (2015). Fostering Digital Citizenship though Safe and Responsible Use of ICT: A review of current status in Asia and the Pacific as of December 2014. Bangkok: UNESCO.