บทบาทของผู้บริหารต่อการบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

Main Article Content

ยุวดี นามนิล
ศิริพงษ์ เศาภายน
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อบทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 14 โรงเรียน ใช้การสุ่มตัวอย่างตาม Cohen, Manion and Morrison ได้กลุ่มตัวอย่าง 197 คน  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Sheffe
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกลยุทธ์การรักษาและพัฒนาบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ด้านการวางแผนงานบุคลากร และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสรรหาบุคลากร 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีคุณวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารในการบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จากข้อค้นพบนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้แก่ผู้บริหารเพื่อพัฒนา ส่งเสริม ปรับปรุง การบริหารงานบุคลากรยุคดิจิทัลของตนเองให้เป็นที่ยอมรับต่อครูผู้สอน ซึ่งส่งผลให้การบริหารงานภายในสถานศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติน กุลเพ็ง. (2555). กลยุทธ์การสรรหาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

คงสิทธิ์ สุวะจันทร์. (2556). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิดาภา ใจห่อ. (2554). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคลากรในสถานศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. การค้นคว้าอิสระ.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). การจัดการทรัพยากรบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.

ทินกร บัวชู. (2562). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of Digital Leadership of Education Management Administrators. วารสารครุศาสตร์สารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 13 (2), 285-594

ธงชัย สันติวงษ์. (2525). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช

ประคอง สุคนธจิตต์. (2562). ทรัพยากรมนุษย์ ยุค 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ7, 18-28

ปาริชาติ สติภา และภูวดล จุลสุคนธ์. (2558). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2538). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

พรทิพย์ โพธิ์บัว. (2555). ความคิดเห็นของครูและบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานบุคลากรของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษาที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พัชราภา โพธิ์อ่อง. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital HR) กับการเพิ่มประสิทธิภาพการสรรหาบุคลากรในองค์กรธุรกิจค้าปลีก. การค้นคว้าอิสระคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุนันทา เลาหนันท์. (2546). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ธนะการพิมพ์.

สุกัญญา รอดระกํา. (2561). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. วันที่ 30-11-2061. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2561). การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากร

ภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.ocsc.go.th/tags.

สุนทร ทองกำเนิด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. วิทยาลัยการทัพบก: การประปานครหลวง.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2559). จับประเด็นร้อน HR 4.0 TRENDA AND MOVE ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ @THAILAND 4.0 .วารสาร HR Society magazine. ปีที่ 14 (164), 36-39.

สอฝีน๊ะ จันพรมศรี. (2552). สภาพและปัญหาการบริหารงานบุคลากรตามทัศนะของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Bohlander, et al. (2001). Managing humanresources. (12th ed). Cincinnati, OH: South-Western College Publishing.

Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education. (7th ed). New York : Morrison.