ความคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครูในโรงเรียนภายในสหวิทยาเขตวังทองหลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

Main Article Content

วรวิทย์ ประทีป ณ ถลาง
ศิริพงษ์ เศาภายน
อุไร สุทธิแย้ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อปัจจัยในความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครูในโรงเรียนภายในสหวิทยาเขตวังทองหลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 และ 2.เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อปัจจัยในความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครูในโรงเรียนภายในสหวิทยาเขตวังทองหลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 234 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายและเทียบสัดส่วน จากการเปิดตารางกำหนดขนาดประชากร จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์การอบรมในด้านการนิเทศการสอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วย
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) ความคิดเห็นของครูต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน ประกอบไปด้วย 1. ด้านการบริหารหลักสูตร 2. ด้านการจัดการเรียนรู้ 3. ด้านการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 4. ด้านการร่วมพัฒนาวิชาชีพ
          2) ครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครู โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ครูที่มีประสบการณ์การอบรมในด้านการนิเทศการสอนที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครู พบว่า โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และด้านการร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในด้านการจัดการเรียนรู้ไม่พบความแตกต่างกัน และครูที่มีประสบการณ์การทำงานที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนิเทศการสอนของครู พบว่า โดยภาพรวมในครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปีมีความแตกต่างกับครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 5 – 10 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และครูที่มีประสบการณ์การทำงานน้อยกว่า 5 ปีมีความแตกต่างกับครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 10 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีระวรรณ เมฆมณฑา. (2560). ความคิดเห็นของครูต่อการนิเทศภายในโรงเรียนของสำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. คณะศึกษาศาสตร์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). การนิเทศการสอนแบบใหม่. กรุงเทพมหานคร: จงเจริญการพิมพ์

ณัฐชา จันทร์ดา. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 จังหวัดชลบุรี. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

ปัญญา อัครพุทธพงศ์. (2557). ปัจจัยทางสถานภาพของครูที่ส่งผลต่อความต้องการรูปแบบการนิเทศการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การนิเทศการศึกษา. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา

สิทธิศักดิ์ ปะวันเณ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. (2556). คู่มือการนิเทศภายใน. นครปฐม: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานนะหรือเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison,Keith. (2011).Research Method in Education. (7thed). New York : Morrison.