ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

รุ่งศิริ นุ่มศิริ
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติงาน สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครจากการเปิดตาราง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ครูมีความคิดเห็นต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
          2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตส่งเสริมสามัคคีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อการนิเทศภายในของผู้บริหาร โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฬารักษ์ โคตรจักร และ สงวน อินทร์รักษ์. (2563). กระบวนการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนภัทรญาณวิทยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (1), 17-33.

รัตนา ดวงแก้วและคณะ. (2554). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการนิเทศการเรียนการสอนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช

ต่อศักดิ์ เนียมวิลัย. (2559). แนวทางการนิเทศภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทัศนีย์ ฉัตรวชิระพฤกษ และคณะ. (2563). การศึกษาความพึงพอใจของครูต่อกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 7 (1), 54-61.

พชรทัดชา รุ่งเลิศนันทกุล. (2560). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru. ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/1505.ru.

พิชญ์พิริยะ กรุณา. (2563). แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 15 (2), 45-62

พิมพ์จันทร์ อุบลภาพ. (2560). ความคิดเห็นของครูต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสมุทรสาคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-1_1510719525_is-bkk7-sec6-0011.pdf.

สมฤดี พิมูลชาต. (2560). ความคิดเห็นของครูต่อการนิเทศภายในโรงเรียนวัดราชโอรส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมือ 20 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/537.ru.

สุดา ภักดีอิ่ม. (2560). การดำเนินงานนิเทศภายในของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษากลุ่มที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://61.19.238.50/StudentServe/input /thesis/[1][100916115644].pdf.

สุดารัตน์ พลอาจ. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศภายในโรงเรียนกล่มุเครือข่ายโรงเรียนที่ 32สำนักงานเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-1_1511322314_is-bkk7-sec3-0058.pdf.

สุนิษา สุจริต (2560). ความคดิเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/779.ru.

จีรวรรณ เมฆมณฑา. (2560). ความคิดเห็นของครูต่อการนิเทศภายใน โรงเรียนของสำนักงานเขตดินแดง สังกัดกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-2-1_1510810060_is-bkk7-sec11-0037.pdf.

อธิพันธ์ ศรีรุ่งกาญจน์. (2558). รูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา: http://academic.rru.ac.th/wp-content/uploads/2020/12/8.pdf.

อภิสรา กังสังข์. (2561). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา ในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อัจฉริยา ฤทธิรณ. (2563). สภาพและแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อุทัยรัตน์ แสงพระจันทร์ และ อดุลย์ วังศรีคูณ. (2559). การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกลุ่ม 5 ขุนศึก. วารสารครุพิบูล. 3 (1), 49-61.

Cohen, Louis.; Manion, Lawrence; & Morrison, Keith. (2011). Research Method in Education.

(7th ed). New York : Morrison.