การจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู ในกลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาชลบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู ในกลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนในกลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 จำนวน 200 คน จากการเปิดตาราง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 132 คน แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (t – test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างจึงทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูมีการรับรู้ต่อการจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีการรับรู้ต่อการจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการคิดเชิงระบบที่มีการรับรู้ต่างกันโดยครูที่มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีมีการรับรู้มากกว่าครูที่มีวุฒิปริญญาตรี
3. ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีการรับรู้ต่อการจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนเกาะจันทร์ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่าง ยกเว้นด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม โดยครูที่มีประสบการณ์ระหว่าง 5-10 ปี มีการรับรู้มากกว่าครูที่มีประสบการณ์ 10 ปี
Article Details
References
ฐิติพร ธรรมเจริญ. (2563). การส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียน เหล่าเตา ไห สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราช ภัฏอุดรธานี. 8 (1),73-88.
ณัฐพลรัตโน และ ประพรทิพย์ คุณากรพิทักษ์. (2563). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. พัฒนวารสาร. 7 (2), 14-26
นฤมล จิตรเอื้อ และคณะ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสาร สาขามนุษศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปกร. 10 (2), 1738-1754
นิรมล คงประจักษ์. (2563). ภาวะผู้นำวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 6 (1). 169-175
รุ้งนภา จันทร์ลี. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์สาขา การบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
วิเชียร รู้ยืนยง และคณะ. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 39 (1). 70-79
ศุตานันท์ คุขุนทด และ มะดาโอะ สุหลง. (2559). บรรยากาศองค์กรและคุณลักษณะของงานที่สนับสนุนการ เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลย อลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สาขามนุษยศตร์และสังคมศาสตร์). 11 (1), 327-335
สมหวัง รอดไธสง และ วิเชียร รู้ยืนยง .(2562). ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (4), 220-233