การให้คำปรึกษาเยาวชนตามหลักภาวนา

Main Article Content

พระศรีรัตนวิมล

บทคัดย่อ

          บทความนี้นำเสนอแนวคิดการให้คำปรึกษาตามหลักภาวนา และการนำหลักภาวนาไปแก้ปัญหาจริยธรรมของเยาวชน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หนังสือและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมาสังเคราะห์สรุปนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า  แนวคิดเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ประกอบด้วยหลักสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา โดยหลักสองอย่างนี้มุ่งเน้นให้ผู้รับคำปรึกษาได้ฝึกจิตให้มีความเข้มแข็ง มีสมาธิในการเผชิญกับปัญหาความทุกข์ที่ตนได้ประสบ และได้พิจารณาตามความเป็นจริงด้วยปัญญา รู้เท่าทันความคิดมิให้กิเลสครอบงำ โดยเฉพาะการมีจิตสำนึกในหลักศีลธรรมอันเป็นบรรทัดฐานความดีงามของพุทธศาสนิกชนหลักภาวนาสามารถนำไปแก้ไขปัญหาจริยธรรมของเยาวชน เพราะเป็นกระบวนการควบคุมความประพฤติทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันเป็นจริยธรรมขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ และเป็นตัวชี้วัดถึงความเจริญงอกงามทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ก่องเกียรติ รักษ์ธรรม. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบตัวบ่งชี้การบริหารแบบมีส่วนร่วมตามแนวคิดของบวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (2), 458-471.
บุญญารัตน์ จันทวี และคณะ (2563). ศึกษาการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนขยายโอกาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (1), 23-33.
พระครูสิทธิธรรมาภรณ์ และคณะ.(2563). พระพุทธศาสนากับการบริหารทรัพยากรมนุษย์. Journal of Modern Learning Development, 5 (3), 219-229.
พระครูสุตภัทรธรรม และคณะ. (2563). Journal of Modern Learning Development, 5 (2), 262-273.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 10).กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกรม และคณะ (2563). จิตสำนึกความเป็นพลเมืองดีในการพัฒนาชุมชนและความเป็นเมืองเชิงพุทธ ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3 (1), 63-80.
พระสมพร ฉนฺทสีโล (ท่าศิลา) และคณะ .(2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนในชุมชนบ้านหนองไฮ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตามหลักภาวนา 4, Journal of Modern Learning Development, 5 (3), 78-92.
สุวรรณี ฮ้อแสงชัย และคณะ (2563). มุมมองการศึกษาเชิงปรัชญาการยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธสันติวิธี. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (1), 180-192.
อุษณีษ์ เย็นสบาย. (2533). จิตวิทยาแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
Thaiheath. (2562). พฤติกรรมวัยรุ่นไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/Content/ .
Burke, H.M. Jr. & Stefflre, B. (1979). Theories of Counseling. (3rd ed.). New York: McGraw - Hill Book Company.
Good, C.V.. (1985). Dictionary of Education. New York: McGraw - Hill Book Company.
Phrapalad Somchai Payogo (Damnoen) and faculty (2020). The Active Ageing in Buddhist Way Index Development of the Elderly in Retired Government Official Group. Solid State Technology, 63(2s), 1331-1341.
Pietrofesa, John L. (1975). Counseling: Research and Practice. Chicago: Kand Mcnally College Publishing.
Ven. Kimpicheth Chhon. (2019). Life and Hope Association: Engaged Buddhist Strategy Transforming Compassion into Social Action. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 3(2), 105-118.