แนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มเจเนอเรชันเน็ต

Main Article Content

มาริษา สุจิตวนิช
ดวงใจ คงคาหลวง

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ แนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มเจเนอเรชันเน็ต ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้ทฤษฎีการสื่อสารการตลาด ทฤษฎีการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และกลุ่มเจเนอเรชันเน็ต และนำเสนอแนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มเจเนอเรชันเน็ต
          ผู้เขียนได้อธิบายถึงการสื่อสารการตลาดในรูปแบบของการตลาดแบบออฟไลน์และในรูปแบบของการตลาดแบบออนไลน์ซึ่งบทความนี้นำเสนอเพื่อให้ผู้ที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้ในทางวิชาการและการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้เพราะการสื่อสารการตลาดออนไลน์ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่าย วงกว้าง และรวดเร็ว ดังกรณีร้านสินค้าออนไลน์ เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ เวิร์ดเพลส อาลีบาบา อาลีเอ็กเพรส อีเบย์ และอาเมซอน เป็นต้น โดยร้านค้าออนไลน์เหล่านี้ไม่สามารถควบคุมได้อย่างรัดกุมก็ตาม ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า เจเนอเรชันเน็ต ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เกิดขึ้นในยุคที่พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากอนาล๊อคสู่ยุคดิจิทัล โดยจะนำเสนอและวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีการสื่อสารการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การขายโดยพนักงาน และการจัดกิจกรรมพิเศษ การสื่อสารการตลาดออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชลธิศ บรรเจิดธรรม และนิตนา ฐานิตธนกร. (2559). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์การแสดง ความ
รับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และความเหมาะสมของตนเองส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ ผลิตภัณฑ์
เครื่องหนังของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมวิชาการนําเสนอ ผลงานวิจัยระดับ
บัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ. (2552). Gen Y ประเทศไทย จินตนาการถึงชาติวันพรุ่งนี้. กรุงเทพมหานคร:
กรุงเทพธุรกิจ Bizweek.
ธนศักดิ์ สุกิจจากร. (2563). การพัฒนาอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการธุรกิจดิจิทัลทีวี: กรณีศึกษากลุ่มช่องประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (3), 552-565.
ธนัญชนก เบ็ญโส๊ะและคณะ. (2563). ทัศนคติของนักศึกษาต่อการขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 7 (1), 42-57.
ธัญรัตน์ รัตนกุล. (2558). การสื่อสารทางการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ซื้อชุดชั้นในยี่ห้อวาโก้ของสตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2195/1/tanyarat_ratt.pdf
นธกฤต วันต๊ะเมล์.(2557). การสื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวความคิด. วารสาร นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม, นิด้า. 2 (1), 173-198
มนัสชนก อริยะเดช และ บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า(7C’s)ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ของผู้บริโภคออนไลน์. Journal of Modern Learning Development, 5 (5), 100-111.
เยาวภา บัวเวช, ทิวาพร ทราบเมืองปัก. (2563). การรู้เท่าทันสื่อ : ประโยชน์และการนำไปใช้ กรณีศึกษา นักศึกษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University. 7 (1), 107-120.
วรวิทย์ ประสิทธิ์ผล. (2557). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศรีกัญญา มงคลศิริ. (2548). Power gens branding. พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์: กรุงเทพมหานคร.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การสื่อสารการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร. (2550). Gen Y จับให้มั่นคั้นให้เวิร์ค. กรุงเทพมหานคร: เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป.
อธิบดี คำเจริญและ สุมามาลย์ ปานคำ. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจซื้อครีมยูมิกซ์ สกินแคร์ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปการจัดการ, 4 (2), 341-354 .
Tapscott, D.. (2009). Grown up digital: how the net generation is changing your world. New
York: McGraw Hill.
Kapferer, J. N. (2012). The new strategic brand management: Advanced insights & strategic
thinking. London: Kogan Page Ltd.
Kaplan, A. M., & Haenlein, M. (2009). The fairyland of Second Life: About virtual social
worlds and how to use them. Business Horizons, 52(6), 563-572.
Kim, C.et. al. (2012). Factors influencing Internet Shopping value and customer repurchase
intention. Electronic Commerce Research and Applications. 11 : 374-387.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. (6th ed.). Ney Jersey: Pearson Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya, H. & Setiawan, I. (2017). Marketing. Translated by Nongluck Jariwathana. Bangkok: Nation Books. [in Thai]
Kotler, P. & Armstrong, G. (1999). Principle of Marketing. (8th ed.). New Jersey: Prentice- Hall.
Miller, E. J., & Rice, A. K. (Eds.). (2013). Systems of organization: The control of task and
sentient boundaries. London: Routledge.
Shimp, T. A. (2000). Advertising promotion. Supplemental aspects of integrated marketing communications. (5th ed). California: Harcourt College Publishers.
Spillecke, D., & Perrey, J. (2012). Retail marketing and branding: A definitive guide to
maximizing ROI. (2nd ed.).New Jersey:Wiley.
The American Heritage Dictionary. (1992). The American Heritage Dictionary of English
Language. (3rd ed.). New York: Houghton Miffin Company.
Tuten, T. L. & Solomon, M. R. (2013). Social Media Marketing. New Jersey: Prentice Hall.
Williamson, A. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. (10th ed.)Geneva: Inter-Parliamentary Union.
Yarrow, K. & O’Donnell, J. (2009). Gen BuY: How Tweens, Teens and Twenty-Somethings Are Revolutionizing Retail. New Jersey: Wiley & Son.